เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในชั้นแอนโธซัวและจัดเป็นพวกดอกไม้ทะเล มีขนาดเล็กเรียกว่าโพลิฟ แต่จะอาศัยรวมกันอยู่เป็นโคโลนีที่ประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยวๆจำนวนมาก เป็นกลุ่มที่สร้างแนวปะการังที่สำคัญพบในทะเลเขตร้อนที่สามารถดึงสารแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำทะเลมาสร้างเป็นโครงสร้างแข็งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้
แม้ว่าปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็กๆขนาดแพลงตอนได้โดยใช้เข็มพิษ (เนมาโตซิสต์) ที่อยู่บนหนวดของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่าซูแซนทาลา นั่นทำให้ปะการังทั้งหลายมีการดำรงชีวิตที่ขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และจะเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลใสตื้นๆโดยปรกติแล้วจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร ปะการังเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้สร้างโครงสร้างทางกายภาพของแนวปะการังที่พัฒนาขึ้นมาในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนอย่างเช่นเกรตแบริเออร์รีฟบริเวณนอกชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีปะการังบางชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายเนื่องจากอยู่ในทะเลลึกอย่างในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปะการังสกุล “โลเฟเลีย” ที่อยู่ได้ในน้ำเย็นๆที่ระดับความลึกได้มากถึง 3000 เมตร[3] ตัวอย่างของปะการังเหล่านี้สามารถพบได้ที่ดาร์วินมาวด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคพแวร็ธในสก๊อตแลนด์ และยังพบได้บริเวณนอกชายฝั่งมลรัฐวอชิงตันและที่เกาะเอลิวเตียนของอลาสก้า
ชนิดของปะการัง
1. ปะการังปลายเข็ม Needle coral ( Stylophora pistillata )
ปะการังวงศ์ Pocilloporidae พบ 3 สกุลคือ Stylophora, Seriatopora และ Polillopora
ปะการังปลายเข็ม Needle coral (Seriatopora hystrix) ปลายกิ่งแหลม คอรอลไลท์มีผนังเฉพาะข้างบนยื่นคว่ำลงมา พบชนิดนี้มากบริเวณส่วนล่างของแนวลาดชัน
ปะการังปลายเข็ม Needle coral (Seriatopora hystrix) ปลายกิ่งแหลม คอรอลไลท์มีผนังเฉพาะข้างบนยื่นคว่ำลงมา พบชนิดนี้มากบริเวณส่วนล่างของแนวลาดชัน
2. ปะการังเกล็ดคว่ำ Hood coral ( Stylophora pistillata )
ปะการังวงศ์ Pocilloporidae พบ 3 สกุลคือ Stylophora, Seriatopora และ Polillopora
ปะการังเกล็กคว่ำ Hood coral (Stylophora pistillata) กิ่งหนา สั้น ปลายมน คอรอลไลท์มีผนังข้างบนยื่นคว่ำลงมา เช่นเดียวกับปะการังปลายเข็ม
3. ปะการังดอกกระหล่ำ Cauliflower ( Pocillopora spp. )
ปะการังเกล็กคว่ำ Hood coral (Stylophora pistillata) กิ่งหนา สั้น ปลายมน คอรอลไลท์มีผนังข้างบนยื่นคว่ำลงมา เช่นเดียวกับปะการังปลายเข็ม
3. ปะการังดอกกระหล่ำ Cauliflower ( Pocillopora spp. )
ปะการังวงศ์ Pocilloporidae พบ 3 สกุลคือ Stylophora, Seriatopora และ Polillopora
ปะการังดอกกะหล่ำ Cauliflower coral (Pocillopora spp.) มีทั้งชนิดกิ่งเล็กขนาดหนา 3 มม. จนถึงกิ่งใหย่ขนาด 2-6 ซม. บนกิ่งมีปมเล็กๆ ขนาด 2-4 มม. กระจายอยู่ทั่วไป (ยกเว้นใน P. damicornis) ช่องคอรอลไลท์ขนาด 1 มม. พบได้ 4 ชนิด
4. ปะการังกิ่งไม้เล็ก Fine branched coral ( Anacropora spp. )
ปะการังดอกกะหล่ำ Cauliflower coral (Pocillopora spp.) มีทั้งชนิดกิ่งเล็กขนาดหนา 3 มม. จนถึงกิ่งใหย่ขนาด 2-6 ซม. บนกิ่งมีปมเล็กๆ ขนาด 2-4 มม. กระจายอยู่ทั่วไป (ยกเว้นใน P. damicornis) ช่องคอรอลไลท์ขนาด 1 มม. พบได้ 4 ชนิด
4. ปะการังกิ่งไม้เล็ก Fine branched coral ( Anacropora spp. )
5. ปะการังเขากวาง Staghorn coral, Table coral ( Acropora spp. ) พบประมาณ 40 ชนิด
ปะการังวงศ์ Acroporidae พบ 4 สกุลคือ Anacropora, Acropora, Astreopora และ Montipora
ปะการังเขากวาง Staghorn coral, Table coral (Acropora spp.) ที่ปลายกิ่งมีคอรอลไลท์ขนาดใหญ่เป้นท่อทรงกระบอก ส่วนด้านข้างรอบกิ่งมีคอรอลไลท์ขนาดเล็กลง รูปทรงของโคโลนีมีทั้งที่แตกกิ่งคล้ายเขากวาง แผ่แบนเหมือนดต๊ะ และพุ่มเล็กๆ พบอยู่ประมาร 40 ชนิด
6. ปะการังผิวเกล็ดน้ำแข็ง Fine spined coral ( Montipora spp. )
ปะการังเขากวาง Staghorn coral, Table coral (Acropora spp.) ที่ปลายกิ่งมีคอรอลไลท์ขนาดใหญ่เป้นท่อทรงกระบอก ส่วนด้านข้างรอบกิ่งมีคอรอลไลท์ขนาดเล็กลง รูปทรงของโคโลนีมีทั้งที่แตกกิ่งคล้ายเขากวาง แผ่แบนเหมือนดต๊ะ และพุ่มเล็กๆ พบอยู่ประมาร 40 ชนิด
6. ปะการังผิวเกล็ดน้ำแข็ง Fine spined coral ( Montipora spp. )
ปะการังวงศ์ Acroporidae พบ 4 สกุลคือ Anacropora, Acropora, Astreopora และ Montipora
ปะการังผิวเกล็ดน้ำแข็ง Fine spined coral (Montipora spp.) มีทั้งชนิดที่เป็นแผ่น กิ่ง หัว และเคลือบพื้น คอรอลไลท์มีช่องขนาดเล็กประมาร 0.5-1 มม. กระจายอยู่ห่างกัน มีกลุ่มหนามเล็กละเอียดกระจายอยู่ทั่ว พบได้ประมาณ 15 ชนิด
7. ปะการังโขด หรือประการังนิ้วมือ Mountain coral, Finger coral ( Porites spp. )
ปะการังผิวเกล็ดน้ำแข็ง Fine spined coral (Montipora spp.) มีทั้งชนิดที่เป็นแผ่น กิ่ง หัว และเคลือบพื้น คอรอลไลท์มีช่องขนาดเล็กประมาร 0.5-1 มม. กระจายอยู่ห่างกัน มีกลุ่มหนามเล็กละเอียดกระจายอยู่ทั่ว พบได้ประมาณ 15 ชนิด
7. ปะการังโขด หรือประการังนิ้วมือ Mountain coral, Finger coral ( Porites spp. )
ปะการังวงศ์ Poritidae พบ 3 สกุลคือ Porites, Synaraea และ Goniopora
ปะการังโขด หรือปะการังนิ้วมือ Mountain coral, Finger coral (Porites spp.) ที้งที่เป็นหัวเล็กๆ ถึงโขดขนาดใหญ่ 3-5 เมตร และที่เป็นกิ่ง โดยทั่วไปผิวเรียบ ช่องคอรอลไลท์ขนาดประมาณ 1-1.5 มม. มักเห้นเป็นช่อง 5-6 เหลี่ยมอยู่ติดกัน มีผนังบางๆ คั่น พบ 4 ชนิด
8. ปะการังผิวยู่ยี่ Wrinkle coral ( Synaraea rus )
ปะการังโขด หรือปะการังนิ้วมือ Mountain coral, Finger coral (Porites spp.) ที้งที่เป็นหัวเล็กๆ ถึงโขดขนาดใหญ่ 3-5 เมตร และที่เป็นกิ่ง โดยทั่วไปผิวเรียบ ช่องคอรอลไลท์ขนาดประมาณ 1-1.5 มม. มักเห้นเป็นช่อง 5-6 เหลี่ยมอยู่ติดกัน มีผนังบางๆ คั่น พบ 4 ชนิด
8. ปะการังผิวยู่ยี่ Wrinkle coral ( Synaraea rus )
ปะการังผิวยู่ยี่ มีลักษณะทั้งที่เป็นแผ่นหนาผสมกิ่งสีครีม และที่เป็นโขดผสมกิ่งที่เป็นท่อนหนาสีม่วงคล้ำปนน้ำตาล ช่องหินปูนของตัวปะการังมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 0.7 มิลลิเมตร ปะการังชนิดนี้มีโคโลนีแยกเพศ เซลล์สืบพันธุ์ผสมกันภายนอกตัว พบได้ทั่วไปในแนวปะการังตั้งแต่ระดับน้ำตื้นจนถึงระดับน้ำลึกบริเวณแนวนอกสุดของแนวปะการังทั้งในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
9. ปะการังดอกไม้ทะเล Anemone-like coral ( Goniopora spp. )
9. ปะการังดอกไม้ทะเล Anemone-like coral ( Goniopora spp. )
ปะการังดอกไม้ชนิดนี้โพลิปมักมีสีน้ำตาลหรือเขียว ที่ชอบยืดตัวและบานหนวดออกจับเหยื่อ ในเวลากลางวัน คอรอมลัมมีลักษณะเป็นก้อนครึ่งวงกลม และเป็นอิสระจากพื้น ซึ่งถูกหยิบเก็บได้ง่าย เป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาตู้ (แต่ผมไม่แนะนำให้เก็บไปนะครับ ปล่อยไว้ให้อยู่ตามธรรมชาติดีกว่าครับ) ขนาดความกว้างของคลอรอมลัมประมาณ 15 เซนติเมตร สันที่จัดเรียง ตัวตามแนวรัศมีขอวแคลไลซ์ไม่ค่อยเจริญ ทำให้ผนังระหว่างแคลไลซ์เป็นสันสูง พบเจริญอยู่ใต้ระดับน้ำลงต่ำสุดทางฝั่งทะเลอันดามัน และมีการแพร่กระจายทั่วไปในแถบอ่าวไทย
10. ปะการังลายกลีบดอกไม้ Petal-like coral ( Psammocora spp. )
10. ปะการังลายกลีบดอกไม้ Petal-like coral ( Psammocora spp. )
11. ปะการังสีน้ำเงินBlue coral
12. ปะการังโขดMountain coral
ปะการังวงศ์ Poritidae พบ 3 สกุลคือ Porites, Synaraea และ Goniopora
ปะการังโขด หรือปะการังนิ้วมือ Mountain coral, Finger coral (Porites spp.) ที้งที่เป็นหัวเล็กๆ ถึงโขดขนาดใหญ่ 3-5 เมตร และที่เป็นกิ่ง โดยทั่วไปผิวเรียบ ช่องคอรอลไลท์ขนาดประมาณ 1-1.5 มม. มักเห้นเป็นช่อง 5-6 เหลี่ยมอยู่ติดกัน มีผนังบางๆ คั่น พบ 4 ชนิด
13. ปะการังรังผึ้ง Honey comb coral ( Coeloseris mayeri )
ปะการังผึ้งมีคอรอลลัมมีรูปร่างหลายแบบ แจมีลักษณะเป็นก้อน เป็นช่อหรือแผ่คลุมซากปะการัง แคลไลซ์ส่วนใหญ่ เป็นรูป 5 - 6 เหลี่ยม จนถึงรูปวงกลม สันที่จัดเรียงตัวตามแนวรัศมียื่นเข้าไปตรงกลางเป็นหน้าผา ผนังกั้นระหว่าง แคลไลซ์ใช้ร่วมกับแคลไลซ์ข้างเคียง ซึ่งต่างจากปะการังแหวนสกุล favia ที่ผนังกั้นแยกกัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ของแคลไลซ์ประมาณ 8 มิลลิเมตร ปกติมักมีสีเขียวคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม ปะการังชนิดนี้เป็นชนิดที่พบได้บ่อยมากในแนวปะการังทั่วไป และมีการแพร่กระจายตั้งแต่ทะเลแดง ถึงออสเตรเลีย
14. ปะการังลายลูกฟูก Serpent coral ( Pachyseris spp. )
โคโลนีอาจมีลักษณะเป็นก้อนหรือแผ่แบนออกเป็นแผ่นหรือเคลือบพื้น โดยมีโพลิปเจริญอยู่ตามร่องตามความยาวเรียงกันเป็นแถวมีลักษณะเป็นลายคดเคี้ยวไปมา และมีสันตามแนวรัศมีที่ยื่นตั้งฉากออกมาจากผนังกั้นอย่างเป็นระเบียบ แต่บางชนิดร่องเรียงไม่เป็นระเบียบ ปะการังกลุ่มนี้มักมีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีเทา พบอยู่ทั้งในระดับน้ำตื้นและน้ำลึกของบริเวณแนวปะการังฝั่งอ่าวไทยและ อันดามัน
15. ปะการังดอกเห็ด Mushroom coral ( Fungia spp. )
ปะการังวง Fungiidae พบได้มาก 3 สกุลคือ Fungia, Herpolitha และ Polyphyllia
ปะการังดอกเห็ด Mushroom coral (Fungia spp.) มีทั้งชนิดที่เป็นจานกลมและทรงรี พวกนี้แต่ละก้อนมีเพียงหนึ่งโพลิป พบได้ 9 ชนิด
16. ปะการังไฟกิ่งFire coral
ปะการังไฟและไฮดรอยด์ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Hydrozoa เนื่องจากวงจรชีวิตของมันต่างไปจากปะการังแท้ กล่าวคือ เมื่อมีการผสมพันะแบบมีเพส ดพลิปจะแตกหน่อสร้างตัวที่มีลักษณะแบบแมงกระพรุนขนาดเล็กหลุดลอยออกไปเพื่อทำหน้าที่ปล่อยไข่และเสิปร์มออกมาผสมกันต่อไป
ลักษณะรูปร่างของปะการังไฟสังเกตได้ง่ายคือ ช่องที่อยู่ของโพลิปมีขนาดเล็กมาก ดดยแบ่งเป็น 2 ขนาด ช่องขนาดใหญ่มีขนาดเพียงปลายเข็มวึ่งภายในโพลิปทำหน้าที่เกี่ยวกับการกินอาหาร แต่ละช่องถูกล้อมรอบด้วยกลุ่มช่องขนาดเล็กที่พอมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ภายในโพลิปที่มีเข็มพิษเพื่อทำหน้าที่ป้องกันตัว ถ้าพิจารณาดูรายละเอียดที่ผิวหินปูนจะเห็นว่าเรียบมาก ไม่มีหนามขรุขระเหมือนอย่างในปะการังแท้ มีรูปทรงอยู่ 3 แบบ คือแบบกิ่ง แบบเคลือบพื้น และแบบแผ่นแบนที่ตั้งทรงอยู่ในแนวดิ่ง ทุกแบบมีสีเหลืองอมน้ำตาล (สีทอง) ที่ปลายกิ่งหรือขอบแผ่นสีจางลงจนอาจเป็นสีขาว โพลิปมีเซลล์เข็มพิษที่รุนแรงมาก หากไปสัมผัสจะปวดแสบและเป็นผื่นแดง พบได้ 3 ชนิด
17. ปะการังกาแล็กซี่ Galaxy coral ( Galaxea spp. )
คอรอลลัมอาจเจริญแผ่คลุมพื้นซากปะการังเป็นเนินหรือเจริญเป็นวงแหวนขนาดเล็ก คอรอลไลท์ยื่นขึ้นมาสูงคล้ายตอ และมีสันจัดเรียงตัวในแนวรัศมีเป็นแผ่นสูงต่ำสลับกัน ขนาดความกว้าง ของคอรอลไลท์ประมาณ 5 มิลลิเมตร และยกสูงจากฐานประมาณ 7 มิลลิเมตร ขณะยังมีชีวิตมักมีสีเขียว เป็นส่วนใหญ่และอาจพบสีน้ำตาลหรือเหลืองบ้าง ปะการังกาแล็กซีที่พบในแถบอินโดแปซิฟิกมีเพียงชนิดเดียว เจริญอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง และลึกลงไปถึง 25 เมตร นอกจากนี้ยังชอบบานหนวดออกในเวลากลางวันด้วย
18. ปะการังแผ่นเปลวไฟ หรือ ประการังดอกจอก Lettuce coral ( Pectinia spp. )
ปะการังดอกจอกคอรอลลัมลักษณะเป็นช่อที่มีผนังกั้นแคลไลซ์เป็นสันสูงบาง ทำให้ช่อปะการังคล้ายผักกาดหอม หรือดอกจอก ส่วนสันที่จัดเรียงตัวในแนวรัศมีไม่ค่อยเจริญ ขนาดความกว้างระหว่างผนังกั้น ประมาณ 8 -15 มิลลิเมตร ปกติมีสีน้ำตาล ปะการังชนิดนี้พบเจริญอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง และลึกลงไปประมาณ 15 เมตร
19. ปะการังตาข่าย (
ปะการังตาข่ายมีคอรอมลัมลักษณะเป็นก้อนหรือแผ่คลุมพื้นซากปะการัง แคลไลท์เป็นรูปเหลี่ยมลายตาข่าย โดยมีผนังกั้นในแนวรัศมีเรียงกัน 3 ชุด ปกติมักมีสีเหลืองอมเขียว พบเจริญอยู่ในแนวปะการังบางแห่งเป็นจำนวนน้อย แต่สามารถพบได้ทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
20. ปะการังผักกาดหอม Lettuce coral ( Mycedium elephantotus )
คอรอมลัมมีขนาดคล้ายช่อผักกาดที่บิดไปบิดมา มีโพลิปเจริญดีอยู่ทั้งสองด้านตามขอบเป็นสันคม ขนาดความกว้างของช่อประมาณ 30 เซ็นติเมตร ปรกติมีสีเทา หรือน้ำตาล ปะการังชนิดนี้มีความเปราะบางแตกหักได้ง่าย แต่มีความคมมากหากนักท่องเที่ยวไปสัมผัสอาจจะเป็นแผลได้ ปะการังชนิดนี้พบเจริญอยู่ทั่วไปในแนวปะการังตั้งแต่เขตน้ำขึ้นน้ำลงออกไปทั้งแนวอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน และแพร่กระจายทั่วไปแถบอินโดแปซิฟิก

ปะการังขนมปังกรอบมีคอรอมลัมลักษณะเป็นช่อซึ่งเกิดจากกิ่งก้านสั้นๆ บิดพับไปมา คอรอลไลท์มีขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร มองด้วยตาเปล่าเห็นไม่ชัด ปะการังที่มีชีวิตดูคล้ายขนมปังกรอบสีน้ำตาล พบเจริญอยู่ใต้เขตน้ำขึ้นนน้ำลงทั้งในอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน
22. ปะการังโขดหิน หรือปะการังก้อน ( Hump Coral )

21. ปะการังขนมปังกรอบ ( Cracker Coral )
ปะการังขนมปังกรอบมีคอรอมลัมลักษณะเป็นช่อซึ่งเกิดจากกิ่งก้านสั้นๆ บิดพับไปมา คอรอลไลท์มีขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร มองด้วยตาเปล่าเห็นไม่ชัด ปะการังที่มีชีวิตดูคล้ายขนมปังกรอบสีน้ำตาล พบเจริญอยู่ใต้เขตน้ำขึ้นนน้ำลงทั้งในอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน
22. ปะการังโขดหิน หรือปะการังก้อน ( Hump Coral )
คอรอมลัมมีลักษณะเป็นก้อนขนากฬหญ่คล้ายโขดหิน บางครั้งอาจมีลักษณะเป็นรูปวงแหวน หรือรูปเกือกม้า เนื่องจากโพลิปส่วนบนที่โผล่พ้นน้ำตายลง และมีการทับถมของตะกอนทำให้สาหร่าย หรือฟองน้ำเจริญขึ้นแทน ส่วนโพลิปที่อยู่ทางด้านข้าง สามารถเจริญขยายออกไปได้เรื่อยๆ ทำให้ดูคล้ายแนวปะการังแบบวงแหวนขนาดเล็ก ส่วนที่โผล่พ้นน้ำมักมีสีม่วงแดง หรือสีน้ำตาล แคลไลซ์มีขนาดเล็ก ประมาณ 1 มิลลิเมตร ปะการังชนิดนี้เป็นปะการังที่พบบ่อยมากในแนวปะการังทั่วไป และครอบคลุทพื้นที่ ของแนวปะการังส่วนใหญ่ตั้งแต่เขตน้ำขึ้นน้ำลงและที่ลึกลงไป มีเยอะมากที่เกาะทะลุ
23. ปะการังสมองใหญ่ Large brain coral ( Symphyllia spp. )
ปะการังสมองมีคอรอลไลท์เป็นก้อนคล้ายสมองเนื่องจากบริเวณผิวมีส่วนนูน แคลไลซ์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และคอรอลไลท์กว้างประมาณ 30 เซนติเมตรพื้นผิวมีสีเทาอมน้ำตาล บางก้อนมีขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งอาจจะมีขนาดเท่ารถยนต์ และมีอายุหลายร้อยปี พอได้มากโดยทั่วไป สามารถพบเห็นได้ที่เกาะทะลุและเกาะสิงห์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
24. ปะการังดาวสีทอง ( Golden Star Coral )
25. ปะการังถั่ว ( Bean Coral )
26. ปะการังสีเงิน ( Blue Coral )
ปะการังสีน้ำเงินจัดอยู่ในพวกเดียวกับปะการังท่อ คอรอลลัมเป็นก้อนและอาจมีส่วนยื่น ในแนวตั้งฉากเป็นแผ่นหรือเป็นพูช่องรองรับโพลิปกระจัดกระจายกัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และมีสันเทียม ( pseudosepta ) จัดเรียงตัวในแนวรัศมียื่นเข้าไปตรงกลาง จำนวน 10-16 สัน แต่ละโพลิปมีหนวด 8 เส้น ในธรรมชาติมักพบสีน้ำตาลอมเหลือง โพลิปมีสีขาว แต่คอรอลลัมที่ล้างสะอาดแล้วเป็นสีน้ำเงิน พบอาศัยอยู่ในระดับน้ำขึ้นน้ำลง และลึกลงไปประมาณ 15 เมตร ทางฝั่งทะเลอันดามัน
27. ปะการังวงแหวน Ring coral ( Favia spp. )
โคโลนีเป็นก้อนมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนมากมีขนาดเล็กมักมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 – 30 เซนติเมตร หินปูนตัวปะการังมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 – 20 มิลลิเมตร ผนังกั้นรอบตัวปะการังเป็นรูปวงกลมหรือรีคล้ายวงแหวน และมีร่องแบ่งระหว่างผนังตัวปะการังชัดเจน ขณะมีชีวิตมักมีสีเขียวหรือน้ำตาล ปะการังกลุ่มนี้เป็นกระเทย เซลล์สืบพันธุ์ผสมภายนอกตัว พบได้บ่อยตามแนวปะการังทั่วไปทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน โดยเจริญอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงไปถึงในบริเวณที่ลึกของแนวปะการัง
28. ปะการังอ่อนหนาม ( Spinous Softcoral )
29. ปะการังรังผึ้ง Honey comb coral ( Goniastrea spp. )
ปะการังผึ้งมีคอรอลลัมมีรูปร่างหลายแบบ แจมีลักษณะเป็นก้อน เป็นช่อหรือแผ่คลุมซากปะการัง แคลไลซ์ส่วนใหญ่ เป็นรูป 5 - 6 เหลี่ยม จนถึงรูปวงกลม สันที่จัดเรียงตัวตามแนวรัศมียื่นเข้าไปตรงกลางเป็นหน้าผา ผนังกั้นระหว่าง แคลไลซ์ใช้ร่วมกับแคลไลซ์ข้างเคียง ซึ่งต่างจากปะการังแหวนสกุล favia ที่ผนังกั้นแยกกัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ของแคลไลซ์ประมาณ 8 มิลลิเมตร ปกติมักมีสีเขียวคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม ปะการังชนิดนี้เป็นชนิดที่พบได้บ่อยมากในแนวปะการังทั่วไป และมีการแพร่กระจายตั้งแต่ทะเลแดง ถึงออสเตรเลีย
30. ปะการังสมอง Brain coral ( Platygyra spp. )
ปะการังจานมีลักษณะเป็นแผ่หนาพันไปมาคล้ายช่อผักกาดขนาดใหญ่ ผิวทางด้านนอกเรียบไม่มีตัวปะการังอยู่ จะมีแต่เฉพาะทางผิวด้านในและขอบด้านบน หินปูนตัวปะการังมีขนาดเส้นผ่า- ศูนย์กลางประมาณ 2 - 5 มิลลิเมตร ขณะยังมีชีวิตมีสีเทาอมน้ำตาล ปะการังชนิดนี้ส่วนใหญ่พบอยู่ในระดับน้ำลึกของแนวปะการังทั้งในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน | |
สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแนวปะการัง
31. ปะการังช่องแขนง ( Branching Pore Coral )
32. ปะการังสมอง Brain coral ( Oulophyllia crispa )
ปะการังสมองมีคอรอลไลท์เป็นก้อนคล้ายสมองเนื่องจากบริเวณผิวมีส่วนนูน แคลไลซ์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และคอรอลไลท์กว้างประมาณ 30 เซนติเมตรพื้นผิวมีสีเทาอมน้ำตาล บางก้อนมีขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งอาจจะมีขนาดเท่ารถยนต์ และมีอายุหลายร้อยปี พอได้มากโดยทั่วไป สามารถพบเห็นได้ที่เกาะทะลุและเกาะสิงห์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
33. ปะการังดาวใหญ่ Double star coral ( Fiploastrea heliopora
เป็นปะการังที่มีโคโลนีเป็นก้อนขนาดใหญ่ อาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางของโคโลนีมากกว่า 2 เมตร ตัวปะการังแต่ละตัวภายในโคโลนีแยกจากกันชัดเจน โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 – 10 มิลลิเมตร ซี่ฟัน (septa) เป็นแผ่นหนาและเรียงกันเป็นวงคล้ายดอกไม้ ขอบริมอาจสูงกว่าระดับผนังได้ถึง 2 มิลลิเมตร ส่วนมากมักพบเป็นโคโลนีขนาดใหญ่ในบริเวณส่วนล่างของแนวลาดชัน และมักพบการตายเป็นบางส่วนภายในโคโลนีขนาดใหญ่
34. ปะการังพุ่มไม้ ( Cauliflower Coral )
35. ปะการังสันหนาม ( Crispy Crusted Coral )
คอรอลลัมลักษณะแบบเป็นแผ่นหยักไปมาแผ่ขยายคลุมซากปะการัง และมีสันคม จัดเรียงตัวตามแนวยาวออกไปยังขอบ ทำให้มีวดลายคล้ายคลึงปะการังสมอง โดยมีร่องระหว่างสันกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร บางคอรอลลัมอาจแตกแขนงด้วย และมีสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลอมม่วง ปะการังชนิดนี้พบอยู่ในเขตใกล้ระดับน้ำลงต่ำสุด และลึกลงไปประมาณ 10 เมตร ตัวอย่างในภาพได้มาจากอ่าวมะขาม จ. ภูเก็ต
36.ปะการังพิศวง ( Wonder Coral )
ปะการังชนิดนี้มีความสวยงามคล้ายดอกไม้ทะเล ลักษณะที่เห็นเด่นชัดก็คือฐานหนวดรอบปาก แผ่แบนกว้างออก มีลายเส้นในแนวรัศมีไปยังขอบซึ่งมีหนวดสีน้ำตาลหรือเขียวเรียงรายเป็นแถว และตรงปลายหนวดมีปุ่มสีชมพู คอรอลลัมมีลักษณะคล้ายปะการังสมองหยาบที่มีแคลไลท์ขนาดใหญ่ จัดเรียงตัวเป็นแถววกวนไปมา ปะการังชนิดนี้พบอยูในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ระดับลึกประมาณ 20 เซนติเมตร ทางฝั่งทะเลอันดามัน
37. ปะการังหนวดถั่ว หรือ หนวดสมอ Bean coral ( Euphyllia ancora )
ปะการังหนวดถั่ว หรือหนวดสมอ Bean coral (Euphyllia ancora) มีโพลิปขนาดใหญ่ ที่ปลายหนวดมีลักษณะเหมือนเมล็ดถั่วหรือสมอเรือ38. ปะการังลูกโปร่งใหญ่ Rounded bubblegum coral ( Plerogyra sinuosa )
ปะการัลูกโป่งใหญ่ Rounded bubblegum coral (Plerogyra sinuosa) ตอนกลางวันผนังลำตัวปะการังจะพองตัวกลมเหมือนลูกโป่ง หรือไข่ปลาหมึก ตอนกลางคืนมีหนวดยื่นออกมา
39. ปะการังลูกโปร่งเล็ก Tipped bubblegum coral ( Physogyra lichtensteini )
ปะการังลูกโป่งเล็ก Tipped bubblegum coral (Physogyra lichtensteini) ผนังลำตัวโป่งพองแต่มีขนาดเล็ก บางครั้งลูกโป่งมียอดแหลม หนวดยื่นออกมาตอนกลางคืน
40. ปะการังจาน หรือ ประการังแจกัน Disc coral, Vase coral ( Turbinaria spp. )
40. ปะการังจาน หรือ ประการังแจกัน Disc coral, Vase coral ( Turbinaria spp. )
1. สาหร่ายเซลเดียว มีความสำคัญต่อชีวิตในแนวปะการังอื่นๆ เพราะทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตธาตุอาหารเบื้อต้นด้วยการสังเคราะห์แสงจากพลังงานแสดงอาทิตย์สาหร่ายเป็นอาหารแก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้แก่ ตัวปะการัง และแพลงก์ตอน
2. หญ้าทะเล เจริญเติบโตได้ดีในแนวปะการังที่ราบเรียบ และบริเวณชายฝั่งทะเลหญ้าทะเลเป็นอาหารของเต่าทะเลพะยูนและปลาบางชนิด นอกจากนี้รากของหญ้าทะเลยังช่วยในการป้องกันการกัดเซาะหน้าดินอีกด้วย
3. ฟองน้ำ เป็นสัตว์น้ำหลายเซลมีขนาดต่างๆ กัน ทั้งลักษณะและรูปร่างสีสัน บางชนิดเป็นรูปด้วยเป็นก้อน เป็นแผ่นบางๆ และบางชนิดมีสีสันสดสวยงดงามมาก ฟองน้ำทำหน้าที่ผลิตสารที่มีคุณค่าให้แก่เพรียง หญ้าทะเล สัตว์น้ำอื่นและฟองน้ำบางชนิดยังเป็นอาหารของมนุษย์ด้วย
4. ปะการังอ่อน ปะการังชนิดนี้ไม่สร้างโครงหินปูนห่อหุ้มตัวแต่จะสร้างโครงหินปูนภายในตัวของมันเองสามารถสะบัดไหวไปมาตามกระแสน้ำได้จึงเรียกว่าปะการังอ่อนมีลักษณะเป็นแท่งเรียวเหมือนเขาสัตว์ซึ่งสามารถโก่งงอได้มีสีสันหลายหลายสวยงามทั้งที่เติบโตเป็นต้น เป็นกอและเป็นแผ่น
5. กัลปังหา เป็นปะการังที่มีหลายสีรูปทรงเรียวยาวและมีกิ่งก้านสาขาแผ่คล้ายต้นไม้ กิ่งก้านหนึ่งของกัลปังหาอาจมีความยาวตั้งแต่ 2-3 นิ้ว ไปจนถึงความยาวเป็นเมตร
6. ดอกไม้ทะเล เป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับปะการังมีรูปร่างทรงกระบอกด้านล่างเป็นฐานยึดติดกับก้อนหิน มีหนวดมีเข็มพิษสำหรับจับปลาเล็กๆ กินเป็นอาหาร มีสันของดอกไม้ทะเล คือ ปลาการ์ตูนซึ่งนอกจากจะมีสีสวยงามแล้ว ยังมีเมือกกันพิษจากดอกไม้ทะเลหุ้มตัวอยู่ ทำให้ไม่ได้รับอันตราย
7. หนอนทะเล มีหลายชนิด บางชนิดมีขนาดเล็กอาศัยอยู่ในรอยแตกหรือซอกหินของแนวปะการังมีรูปร่างสีสันสวยงาม หนอนทะเลเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการแตกสลายของปะการังโดยการขุดโพรงเป็นที่อยู่อาศัยเศษหินที่ขุดออกมาก็จะกลายเป็นเศษหินหรือทราย
8. สัตว์อื่นๆ ที่อาศัยในแนวปะการัง
หอย ได้แก่ หอยเบี้ย หอยสังข์ หอยนางรม หอยมือเสือ หอยเต้าปูน และหอยสังข์แตร โดยหอยสังข์แตรเป็นหอยที่กินปลาดาวมงกุฎหนามซึ่งเป็นศัตรูของปะการังจึงมีความสำคัญต่อปะการังสูงมาก
หมึกทะเล เป็นหอยชนิดที่ไม่มีเปลือก ลำตัวอ่อนนุ่มมีหนวดสำหรับจับเหยื่อจำพวก กุ้ง ปู ปลา เป็นอาหารหมึกทะเลจะพ่นหมึกสีดำจากตัวในเวลาที่จะหนีศัตรู หมึกทะเลมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ หมึกยักษ์และหมึกธรรมดา ซึ่งได้แก่ หมึกกล้วย หมึกกระดอง
ปลาต่างๆ ปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังมีทั้งปลาที่เป็นอาหารและปลาประเภทสวยงาม ได้แก่ปลาสิงโต ปลานกแก้ว ปลาการ์ตูน และปลาผีเสื้อ โดยเฉพาะปลาการัง หรือปลาเก๋าปลาชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่จะมีลำตัวใหญ่มาก มีความยาวถึง 2 เมตรปลานกแก้วนอกจากจะเป็นปลาสวยงามแล้วยังมีปากและขากรรไกรที่แข็งแรงคล้ายนกแก้วมีฟันหลายแถว กินสาหร่ายและปะการังเป็นอาหาร ปลานกแก้วจะกัดทั้งก้อนปะการังและจะย่อยเฉพาะตัวปะการัง ส่วนโครงสร้างแข็งนั้นจะขับถ่ายคายออกมาเป็นเศษละเอียดกลายเป็นเม็ดทรายละเอียดต่อไป
สัตว์ที่มีผิวหนังเป็นปุ่ม ที่อาศัยทั่วไปในแนวปะการัง ได้แก่ หอยเม่น มีหลายชนิดโดยทั่วไปมีรูปร่างกลม มีหนามที่ผิวหอยเม่นที่พบส่วนใหญ่จะมีสีดำ หนามเปราะหักตำได้ง่ายแต่ที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังนั้น มีทั้งชนิดหนามสั้น หนามยาว หนามแหลม หนามทู่ และหอยเม่นที่นิยมเก็บมาทำของที่ระลึก ได้แก่ หอยเม่นหนามสั้น และหอยเม่นดินสอ ดาวทะเล มีหลายชนิด หลายสีรูปร่างแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนลำตัว และส่วนแขนที่แยกออกไปเป็นแฉกคล้ายรัศมีดาว ส่วนใหญ่มีรัศมี 5 แฉก บางชนิดอาจมีมากกว่านั้น ดาวทะเลส่วนใหญ่กินหอยเป็นอาหาร แต่มีดาวทะเลชนิดกินปะการังเป็นอาหาร ได้แก่ ดาวมงกุฎหนาม ดาวมงกุฎหนาม หรือที่เรียกว่าปลาดาวหนาม (Crown of Thorns Starfish) เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง รูปร่างมีลักษณะเป็นแฉกคล้ายดาวและมีหนามอยู่บนผิวหนังรอบตัวบริเวณใต้แขนที่เป็นแฉกแต่ละแขนจะมีขาเป็นหลอดสั้นเรียงกันเป็นแถวสำหรับใช้จับอาหารและเคลื่อนที่การเคลื่อนที่นี้เป็นไปอย่างเชื่องช้า แต่สามารถเคลื่อนที่ได้ทุกแนวระดับตามพื้นท้องทะเล ดาวมงกุฎหนามจะกินเนื้อเยื่อของปะการังเป็นอาหาร
ปะการังที่ถูกดาวมงกุฎหนามกินมากที่สุด ได้แก่ ปะการังเขากวาง ปะการังเห็นและปะการังที่ไม่ถูกดาวมงกุฎหนามกินเลย ก็คือปะการังสีน้ำเงิน
ประโยชน์ของแนวปะการัง. |
2. แนวปะการังเป็นแหล่งกำเนิดทรายให้กับชายหาด ทั้งจากการสึกกร่อนของโครงสร้างหินปูน การกัดกร่อนโดยสัตว์ทะเลบางชนิดและจากกระแสคลื่น ซึ่งทำให้หินปูนปะการังแตกละเอียดเป็นเม็ดทรายที่ขาวสะอาด มีการประมาณว่าแร่ธาตุแคลเซียมคาร์บอเนตที่ทับถมในมหาสมุทรนั้น ร้อยละ 50 เกิดจากแนวปะการัง 3. แนวปะการังเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์และยังเป็นที่อยูอาศัยของสัตว์และพืชนานาชนิด ที่อาศัยอยู่เฉพาะในแนวปะการัง เช่น เต่าทะเลและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ปลาหมึก หอย กุ้ง แมงกะพรุน และปลิงทะเล เป็นต้น 4. แนวปะการังเป็นแหล่งที่มาของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น ปูนขาว กระเบื้อง และทราย 5. สิ่งมีชีวิตบางชนิดในแนวปะการัง เช่น Sea hare และ Sea fan ผลิตสารพิษเพื่อป้องกันตัวเองนั้น สามารถนำมาสกัดใช้ทำยา เช่น ยาต่อต้านโรคมะเร็ง ยาต่อต้านจุลชีพและน้ำยาป้องกันการตกผลึกและแข็งตัว เป็นต้น 6. แนวปะการังเป็นเสมือนห้องทดลองทางนิเวศวิทยา ในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมาได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศในแนวปะการังเพิ่มขึ้นอย่างมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต 7. แนวปะการังจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเลที่มีความสวยงาม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและน้ำทะเลที่ใสสะอาด ปะการังจึงเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวการดำน้ำและการถ่ายภาพใต้น้ำ |
แนวปะการังแถบเอเชียอาคเนย์ |
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีแนวปะการังมากที่สุดคือประเทศอินโดนีเชีย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความยาวของแนวชายฝั่งทะเลรวมกันถึง 81,000 กิโลเมตร ปะการังส่วนใหญ่พบในบริเวณชายฝั่งทางใต้และหมู่เกาะทางตะวันออก ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการัง เนื่องจากมีชายฝั่งทะเลที่ยาวรวมกันถึง 18,000 กิโลเมตร และจะพบแนวปะการังทั่วไปตามแนวชายฝั่งของเกาะต่างๆ |
จังหวัด | สถานที่ |
---|---|
จังหวัดชลบุรี | สีชัง ค้างคาว ท้ายตาหมื่น ล้าน ครก สาก มารวิชัย ไผ่ กลึงบาดาล หูช้าง นก แสมสาร แรด ครามใหญ่ ครามน้อย เกล็ดแก้ว เขาแหลมขาม ขามน้อย ขามใหญ่ ปรง พานดอกไม้ จวง ริ้น อีเลา อ่าวทุ่งไก่เตี้ย แหลมปู่เจ้า จาน |
จังหวัดระยอง | สะเก็ด เสม็ด หินคันนา หินขาว เกาะจันทร์ ปลายตีน กรวย เกล็ดฉลาม กุฎี ท้ายค้างคาว ทะลุ ยุ้งเกลือ มันใน มันนอก มันกลาง |
จังหวัดจันทบุรี | อ่าวเจ้าหลาว นมสาว |
จังหวัดตราด | ช้าง ช้างน้อย หยวก ปลี มันนอก มันใน พร้าวใน พร้าวนอก คลุ้ม เหลาใน เหลานอก เหลากลาง ระยังใน ระยังนอก กระ ไม้ซี้ใหญ่ ไม้ซี้เล็ก หวาย กูด หมาก กระดาด รัว ร่ม เทียน |
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | แรด เหลื่อม อีแอ่น พิง พัง จาน รำร่า หินกรูด ทะลุ สิงห์ สังข์ |
จังหวัดชุมพร | มะพร้าว มาตรา ทองหลาง ลังกาจิว รังห้า ไข่ จระเข้ ละวะ ทะลุ ง่ามใหญ่ ง่ามน้อย หลักง่าม กุลา อีแรด ค้างเสือ มัดหวายใหญ่ มัดหวายน้อย ทองแก้ว กระ ยูง หลักแรด ทะลุ สาก |
จังหวัดสุราษฎร์ธานี | เต่า หางเต่า นางยวน หินกงทรายแดง หินชุมพร หินวง หินตุ้งกู หินใบ ทองทั้งแท่ง สามเส้า วัวเตะ มัดโกง พงัน แรด แม่เกาะ แตน แตนอก แตใน วังใน มดแดง วังนอก หินอ่างวัง สมุย มัดหลัง มัดสุ่ม ท้ายเพลา |
จังหวัดปัตตานี | เล่าปี่ หินกวนอู |
จังหวัดนราธิวาส | โลซิน |
จังหวัดระนอง | พะยาม ค้างคาว ลูกกำตก กำใหญ่ กำนุ้ย ลูกกำกลาง ลูกกำออก ล้าน ไข่ ร่ม ช้าง ทะลุ ตาครุฑ หม้อ ปริง ไร่ ไฟไหม้ |
จังหวัดพังงา | สุรินทร์เหนือ สุรินทร์ใต้ ปาจุมบา ตอรินลา สต๊อค หินแพ หินกอง ริเชลิว ตาชัย บอน สันฉลาม เกาะหนึ่ง-เก้า(หมู่เกาะสิมิลัน) ละวะใหญ่ ยาวใหญ่ ยาวน้อย |
จังหวัดภูเก็ต | หาดไนยาง อ่าวบางเทา อ่าวกะตะ หาดกมลา อ่าวป่าตอง แหลมพรหมเทพ ไม้ท่อน ตะเภาใหญ่ นาคาน้อย บอน ราชาใหญ่ ราชาน้อย เฮ |
ลันตา พีพีดอน พีพีเล ด้ามหอก ไม้ไผ่ หาดนพรัตน์ธารา ด้ามขวาน ยูง ห้อง แดง ปอดะใน ปอดะนอก | |
จังหวัดตรัง | ไหง รอกใน รอกนอก แหวน เชือก มุก กระดาน ตะลิบง ไน หลาวเหลือง เภตรา หินแดง หินม่วง เหลาเหลียงเหนือ เหลาเหลียงใต้ แดง |
จังหวัดสตูล | ตะรุเตา อาดัง ราวี กลาง รอก หินงาม ไข่ หลีเป๊ะ ยาง ดง บุโหลนใหญ่ บุโหลนขี้นก บุโหลนไม้ไผ่ หินขาว |
ปัญหาและความเสื่อมโทรม
1. ผลกระทบจากธรรมชาติต่อแนวปะการัง
ปัญหาจากธรรมชาตินั้นมีได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การระบาดของดาวมงกุฎหนาม เนื่องจากปลาดาวมงกุฎหนามเป็นสัตว์กินปะการังเป็นอาหารโดยตรง เมื่อมันเพิ่มจำนวนขึ้นมากก็จะมีการกินปะการังมากขึ้น ผลกระทบจากการเกิดพายุ และคลื่นลม คลื่นและกระแสลมที่แรงจะทำให้กิ่งก้านของปะการัง เกิดการแตกหักเสียหายได้มาก ผลกระทบส่วนใหญ่จะเกิดในปะการังกิ่งมากกว่าปะการังก้อน โดยกลุ่มของปะการังจะฟื้นตัวภายใน 1 ปี โดยพายุจะส่งผลให้ความหลากหลายของปะการังลดลงได้ แต่มันจะมีการเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อได้รับแสงสว่าง สามารถเติบโตเพิ่มโคโลนีได้ต่อไป ผลจากการลดลงของระดับน้ำอย่างผิดปกติ ทำให้ปะการังได้รับแสงเป็นเวลานานเกินไป อาจให้สาหร่ายซูแซนเทลลี่ตาย ส่งผลต่อปะการังได้
ปะการังฟอกขาว | การระบาดของดาวมงกุฎหนาม |
2. ผลกระทบจากมนุษย์ต่อแนวปะการัง
การที่มนุษย์เข้าไปในแนวปะการังย่อมเกิดผลกระทบต่อแนวปะการังอย่างแน่นอน กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เราพบบริเวณรอบเกาะหรือชายฝั่งนั้นเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมในทะเล
ในพื้นที่ท้องถิ่นบริเวณเกาะ ประชากรค่อนข้างจะมีขนาดเล็ก การป้องกันสภาพแวดล้อมทางทะเลของพื้นที่ขนาดเล็กนั้นทำได้โดยการเริ่มต้นจากคนในครอบครัว หรือหมู่บ้าน ประชากรแต่ละคนในกลุ่มนี้มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลอย่างดี เขาสามารถใช้ทรัพยากรทางทะเลโดยไม่ทำลายระบบนิเวศแนวปะการัง เขาจะสร้างการใช้ประโยชน์ทรัพยากรแบบยั่งยืน (ecologically sustainable)
การเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากร ชักนำการทำประมงแบบใหม่และเครื่องมือแบบตะวันตกหรือจากต่างชาติเข้ามาแทนที่วิธีการทำประมงแบบดั้งเดิม จึงทำให้เกิดการทำลายระบบนิเวศแนวปะการัง การทำลายแนวปะการังหลาย ๆ ครั้งนั้นเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรบริเวณชายฝั่งโดยตรง ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่
- น้ำเสีย (Sewage pollution)
กรณีศึกษา อ่าวKanehoe
ผลกระทบจากมลพิษที่มีสาเหตุจากน้ำเสียนั้นเคยเกิดขึ้นที่อ่าว Kanehoe เกาะฮาวาย ซึ่งอ่าวนี้มีปะการังที่สวยงาม ในปี ค.ศ. 1950 ประชากรของเกาะฮาวายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นผลให้มีการปล่อยน้ำเสียปริมาณมากลงในอ่าว ส่งผลให้ธาตุอาหารที่อยู่ในน้ำเสีย เช่นปุ๋ยเพิ่มการเติบโตของสาหร่ายและวัชพืช ดังนั้นสาหร่ายและวัชพืชจึงเติบโตอย่างรวดรวด เกิดการแข่งขันเรื่องพื้นที่กับปะการัง ไม่นานทั้งอ่าวก็ปกคลุมไปด้วยสาหร่ายและวัชพืช รวมทั้งสัตว์น้ำที่กินอาหารด้วยการกรองกิน เช่น เพรียงหัวหอม ฟองน้ำ ไส้เดือนทะเล
ในขณะที่ปะการังตายลงเกือบทั้งหมด ต่อมา ในปี ค.ศ. 1978 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์และสาธารณะชนได้สร้างกระแสกดดัน ทำให้ปล่อยน้ำเสียไกลฝั่งห่างจากอ่าวมากขึ้น ปะการังปริมาณน้อยที่เหลืออยู่นั้นก็มีการเติบโตและสืบพันธุ์ ประชากรสาหร่ายและวัชพืชก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อไม่มีธาตุอาหารจากน้ำเสีย สาหร่ายก็ไม่สามารถเติบโตได้เร็วเท่ากับปะการัง ปะการังก็ยึดพื้นที่คืนมา
- การเก็บปะการัง
นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของขนาดประชากรของมนุษย์มีผลกระทบบางประการแม้ว่าจะไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงก็ตาม
- ปัญหาจากการท่องเที่ยวในแนวปะการัง
การทำลายอื่น ๆ นั้นเกิดจากการไม่มีประสบการณ์ หรือการดำน้ำอย่างไม่ระมัดระวัง และการทอดสมอเรือ ซึ่งทำให้ปะการังแตกหัก และในบางครั้ง ทำให้เกิดการทำลายสัตว์จำนวนมากในแนวปะการังเพื่อนำมาทำเป็นของที่ระลึกขายนักท่องเที่ยว
- การพัฒนาแนวชายฝั่ง
แนวทางการอนุรักษ์ปะการัง
1. มาตรการเร่งด่วนการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลด้านป่าชายเลนและปะการัง
ซึ่งมีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ
ซึ่งมีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ
มาตรการเร่งด่วนดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2534
2. แผนปฏิบัติการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล จังหวัดภูเก็ต บริเวณหาดป่าตอง กะรน กะตะ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2534 ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ จะมีแผนการจัดการปะการังรวมอยู่ด้วย
3. นโยบาย มาตรการ และแผนปฏิบัติการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2535 สาระสำคัญมีดังนี้
4. แผนแม่บทการจัดการปะการังของประเทศ ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535 ประกอบด้วยนโยบายและมาตรการการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแนวปะการัง ดังนี้
2. ทำเครื่องหมายแสดงแนวปะการัง เพื่อมิให้เรือเข้ามาในแนวนั้น
3. กวดขัน สอดส่องมิให้มีการระเบิดปลาโดยเด็ดขาด
4. ห้ามการประมงอวนลาก อวนรุน เข้ามาจับปลาบริเวณชายฝั่งที่มีแนวปะการัง
5. ช่วยกันส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของการรักษาธรรมชาติของปะการัง เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น
6. ในฐานะประชาชนในท้องถิ่นจะต้องไม่เก็บหาปะการังขึ้นมาขาย
7. นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้องไม่ทิ้งขยะและเศษสิ่งของลงท้องทะเล
1 ความคิดเห็น:
King Of Tempo Poker | Play Online | Shootercasino.com
King of Tempo poker is a popular video poker game. It can be played online at the official site. You kadangpintar can play the หาเงินออนไลน์ game 제왕 카지노 online here.
แสดงความคิดเห็น