วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปะการัง

 ปะการัง


เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในชั้นแอนโธซัวและจัดเป็นพวกดอกไม้ทะเล มีขนาดเล็กเรียกว่าโพลิฟ แต่จะอาศัยรวมกันอยู่เป็นโคโลนีที่ประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยวๆจำนวนมาก เป็นกลุ่มที่สร้างแนวปะการังที่สำคัญพบในทะเลเขตร้อนที่สามารถดึงสารแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำทะเลมาสร้างเป็นโครงสร้างแข็งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้
fishswim6.gif (9775 bytes)octopus2.gif (10965 bytes)                                 หัวของปะการัหนึ่งโดยปรกติจะสังเกตเห็นเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆอันหนึ่ง แต่ที่จริงนั้นมันประกอบขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆขนาดเล็กนับเป็นพันๆโพลิฟโดยในทางพันธุ์ศาสตร์แล้วจะเป็นโพลิฟชนิดพันธุ์เดียวกันทั้งหมด โพลิฟจะสร้างโครงสร้างแข็งที่มีลักษณะเฉพาะของปะการังแต่ละชนิด หัวของปะการังหนึ่งๆมีการเจริญเติบโตโดยการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศของโพลิฟเดี่ยวๆ แต่ปะการังก็สามารถสืบพันธุ์ออกลูกหลานโดยการใช้เพศกับปะการังชนิดเดียวกันด้วยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์พร้อมๆกันตลอดหนึ่งคืนหรือหลายๆคืนในช่วงเดือนเพ็ญ


แม้ว่าปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็กๆขนาดแพลงตอนได้โดยใช้เข็มพิษ (เนมาโตซิสต์) ที่อยู่บนหนวดของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่าซูแซนทาลา นั่นทำให้ปะการังทั้งหลายมีการดำรงชีวิตที่ขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และจะเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลใสตื้นๆโดยปรกติแล้วจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร ปะการังเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้สร้างโครงสร้างทางกายภาพของแนวปะการังที่พัฒนาขึ้นมาในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนอย่างเช่นเกรตแบริเออร์รีฟบริเวณนอกชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีปะการังบางชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายเนื่องจากอยู่ในทะเลลึกอย่างในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปะการังสกุล “โลเฟเลีย” ที่อยู่ได้ในน้ำเย็นๆที่ระดับความลึกได้มากถึง 3000 เมตร[3] ตัวอย่างของปะการังเหล่านี้สามารถพบได้ที่ดาร์วินมาวด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคพแวร็ธในสก๊อตแลนด์ และยังพบได้บริเวณนอกชายฝั่งมลรัฐวอชิงตันและที่เกาะเอลิวเตียนของอลาสก้า
       
U200.jpg (27750 bytes)a_co.gif (134493 bytes)        U217.jpg (27046 bytes)                         







ชนิดของปะการัง
starfsh1.gif (4160 bytes)ปะการังมีมากมายหลายชนิดกว่า 700 ชนิดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีปะการังประมาณ 350 ชนิด ชนิดของปะการังที่พบได้ง่ายและควรรู้จักมีดังนี้
 
1. ปะการังปลายเข็ม Needle coral ( Stylophora pistillata )                     
                  
ปะการังวงศ์ Pocilloporidae พบ 3 สกุลคือ Stylophora, Seriatopora และ Polillopora

ปะการังปลายเข็ม Needle coral (Seriatopora hystrix) ปลายกิ่งแหลม คอรอลไลท์มีผนังเฉพาะข้างบนยื่นคว่ำลงมา พบชนิดนี้มากบริเวณส่วนล่างของแนวลาดชัน


 
 2. ปะการังเกล็ดคว่ำ  Hood coral  ( Stylophora pistillata )
                  
ปะการังวงศ์ Pocilloporidae พบ 3 สกุลคือ Stylophora, Seriatopora และ Polillopora

ปะการังเกล็กคว่ำ Hood coral (Stylophora pistillata) กิ่งหนา สั้น ปลายมน คอรอลไลท์มีผนังข้างบนยื่นคว่ำลงมา เช่นเดียวกับปะการังปลายเข็ม


3. ปะการังดอกกระหล่ำ Cauliflower ( Pocillopora spp. )

                  
ปะการังวงศ์ Pocilloporidae พบ 3 สกุลคือ Stylophora, Seriatopora และ Polillopora

ปะการังดอกกะหล่ำ Cauliflower coral (Pocillopora spp.) มีทั้งชนิดกิ่งเล็กขนาดหนา 3 มม. จนถึงกิ่งใหย่ขนาด 2-6 ซม. บนกิ่งมีปมเล็กๆ ขนาด 2-4 มม. กระจายอยู่ทั่วไป (ยกเว้นใน P. damicornis) ช่องคอรอลไลท์ขนาด 1 มม. พบได้ 4 ชนิด


  4. ปะการังกิ่งไม้เล็ก  Fine branched coral ( Anacropora spp. )
                  


  5. ปะการังเขากวาง  Staghorn coral, Table coral ( Acropora spp. ) พบประมาณ 40 ชนิด
                  
ปะการังวงศ์ Acroporidae พบ 4 สกุลคือ Anacropora, Acropora, Astreopora และ Montipora

ปะการังเขากวาง Staghorn coral, Table coral (Acropora spp.) ที่ปลายกิ่งมีคอรอลไลท์ขนาดใหญ่เป้นท่อทรงกระบอก ส่วนด้านข้างรอบกิ่งมีคอรอลไลท์ขนาดเล็กลง รูปทรงของโคโลนีมีทั้งที่แตกกิ่งคล้ายเขากวาง แผ่แบนเหมือนดต๊ะ และพุ่มเล็กๆ พบอยู่ประมาร 40 ชนิด


  6. ปะการังผิวเกล็ดน้ำแข็ง  Fine spined coral ( Montipora spp. )
                  
ปะการังวงศ์ Acroporidae พบ 4 สกุลคือ Anacropora, Acropora, Astreopora และ Montipora

ปะการังผิวเกล็ดน้ำแข็ง Fine spined coral (Montipora spp.) มีทั้งชนิดที่เป็นแผ่น กิ่ง หัว และเคลือบพื้น คอรอลไลท์มีช่องขนาดเล็กประมาร 0.5-1 มม. กระจายอยู่ห่างกัน มีกลุ่มหนามเล็กละเอียดกระจายอยู่ทั่ว พบได้ประมาณ 15 ชนิด


  7. ปะการังโขด หรือประการังนิ้วมือ  Mountain coral, Finger coral ( Porites spp. )
                  
ปะการังวงศ์ Poritidae พบ 3 สกุลคือ Porites, Synaraea และ Goniopora

ปะการังโขด หรือปะการังนิ้วมือ Mountain coral, Finger coral (Porites spp.) ที้งที่เป็นหัวเล็กๆ ถึงโขดขนาดใหญ่ 3-5 เมตร และที่เป็นกิ่ง โดยทั่วไปผิวเรียบ ช่องคอรอลไลท์ขนาดประมาณ 1-1.5 มม. มักเห้นเป็นช่อง 5-6 เหลี่ยมอยู่ติดกัน มีผนังบางๆ คั่น พบ 4 ชนิด


  8. ปะการังผิวยู่ยี่ Wrinkle coral ( Synaraea rus )
                  
 ปะการังผิวยู่ยี่ มีลักษณะทั้งที่เป็นแผ่นหนาผสมกิ่งสีครีม และที่เป็นโขดผสมกิ่งที่เป็นท่อนหนาสีม่วงคล้ำปนน้ำตาล ช่องหินปูนของตัวปะการังมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 0.7 มิลลิเมตร ปะการังชนิดนี้มีโคโลนีแยกเพศ เซลล์สืบพันธุ์ผสมกันภายนอกตัว พบได้ทั่วไปในแนวปะการังตั้งแต่ระดับน้ำตื้นจนถึงระดับน้ำลึกบริเวณแนวนอกสุดของแนวปะการังทั้งในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

  9. ปะการังดอกไม้ทะเล Anemone-like coral  ( Goniopora spp. )
                  
ปะการังดอกไม้ชนิดนี้โพลิปมักมีสีน้ำตาลหรือเขียว ที่ชอบยืดตัวและบานหนวดออกจับเหยื่อ ในเวลากลางวัน คอรอมลัมมีลักษณะเป็นก้อนครึ่งวงกลม และเป็นอิสระจากพื้น ซึ่งถูกหยิบเก็บได้ง่าย เป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาตู้ (แต่ผมไม่แนะนำให้เก็บไปนะครับ ปล่อยไว้ให้อยู่ตามธรรมชาติดีกว่าครับ) ขนาดความกว้างของคลอรอมลัมประมาณ 15 เซนติเมตร สันที่จัดเรียง ตัวตามแนวรัศมีขอวแคลไลซ์ไม่ค่อยเจริญ ทำให้ผนังระหว่างแคลไลซ์เป็นสันสูง พบเจริญอยู่ใต้ระดับน้ำลงต่ำสุดทางฝั่งทะเลอันดามัน และมีการแพร่กระจายทั่วไปในแถบอ่าวไทย


10. ปะการังลายกลีบดอกไม้ Petal-like coral  ( Psammocora spp. )
                    


starfsh1.gif (4160 bytes)ปะการังลายกลีบดอกไม้ Petal-like coral (Psammocora spp.) มีทั้งชนิดที่เป็นกิ่งกอเล็กๆ แบบเคลือบตามพื้นและที่เป็นโขดซึ่งแตกกิ่งเป็นท่อนใหย่ๆ คอรอลไลท์มีเซ๊ปต้าลักาณะเป้นลายกลีบดอกไม้ พบได้ 3 ชนิด





11. ปะการังสีน้ำเงินBlue coral
                  
ปะการังสีน้ำเงินจัดอยู่ในกลุ่มย่อยเดียวกับปะการังอ่อนและกัลปังหาเพราะมีโพลิปแบบเดียวกัน แต่มีที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัดคือมีการสร้างหินปูนเหมือนอย่างในปะการังแข้ง เนื้อหินปูนมีสีน้ำเงินเพราะมีสารประกอบของทองแดงผสมอยู่ ปะการังสีน้ำเงินมีเพียงชนิดเดียวคือ Heliopora coerulea ลักษณะภายนอกที่ใช้สังเกตคือ เป็นแผ่นแบบตั้งในแนวยืน มักเห็นซ้อนกันเป็นลอน ผิวหินปูนเรียบ สีน้ำตาลอมน้ำเงิน มีโพลิปสีขาวฝังตัวอยู่ในช่องกลมขนาดเล็กประมาณ 0.5 มม. มักพบในบริเวณที่กระแสน้ำไหลค่อนข้างเชี่ยว


12. ปะการังโขดMountain coral
                 
ปะการังวงศ์ Poritidae พบ 3 สกุลคือ Porites, Synaraea และ Goniopora

ปะการังโขด หรือปะการังนิ้วมือ Mountain coral, Finger coral (Porites spp.) ที้งที่เป็นหัวเล็กๆ ถึงโขดขนาดใหญ่ 3-5 เมตร และที่เป็นกิ่ง โดยทั่วไปผิวเรียบ ช่องคอรอลไลท์ขนาดประมาณ 1-1.5 มม. มักเห้นเป็นช่อง 5-6 เหลี่ยมอยู่ติดกัน มีผนังบางๆ คั่น พบ 4 ชนิด




13. ปะการังรังผึ้ง Honey comb coral ( Coeloseris mayeri )
                 
ปะการังผึ้งมีคอรอลลัมมีรูปร่างหลายแบบ แจมีลักษณะเป็นก้อน เป็นช่อหรือแผ่คลุมซากปะการัง แคลไลซ์ส่วนใหญ่ เป็นรูป 5 - 6 เหลี่ยม จนถึงรูปวงกลม สันที่จัดเรียงตัวตามแนวรัศมียื่นเข้าไปตรงกลางเป็นหน้าผา ผนังกั้นระหว่าง แคลไลซ์ใช้ร่วมกับแคลไลซ์ข้างเคียง ซึ่งต่างจากปะการังแหวนสกุล favia ที่ผนังกั้นแยกกัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ของแคลไลซ์ประมาณ 8 มิลลิเมตร ปกติมักมีสีเขียวคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม ปะการังชนิดนี้เป็นชนิดที่พบได้บ่อยมากในแนวปะการังทั่วไป และมีการแพร่กระจายตั้งแต่ทะเลแดง ถึงออสเตรเลีย


14. ปะการังลายลูกฟูก  Serpent coral  ( Pachyseris spp. )
                 


 โคโลนีอาจมีลักษณะเป็นก้อนหรือแผ่แบนออกเป็นแผ่นหรือเคลือบพื้น โดยมีโพลิปเจริญอยู่ตามร่องตามความยาวเรียงกันเป็นแถวมีลักษณะเป็นลายคดเคี้ยวไปมา และมีสันตามแนวรัศมีที่ยื่นตั้งฉากออกมาจากผนังกั้นอย่างเป็นระเบียบ แต่บางชนิดร่องเรียงไม่เป็นระเบียบ ปะการังกลุ่มนี้มักมีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีเทา พบอยู่ทั้งในระดับน้ำตื้นและน้ำลึกของบริเวณแนวปะการังฝั่งอ่าวไทยและ อันดามัน
15. ปะการังดอกเห็ด  Mushroom coral  ( Fungia spp. )
                 
ปะการังวง Fungiidae พบได้มาก 3 สกุลคือ Fungia, Herpolitha และ Polyphyllia

ปะการังดอกเห็ด Mushroom coral (Fungia spp.) มีทั้งชนิดที่เป็นจานกลมและทรงรี พวกนี้แต่ละก้อนมีเพียงหนึ่งโพลิป พบได้ 9 ชนิด



16. ปะการังไฟกิ่งFire coral
                  
ปะการังไฟและไฮดรอยด์ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Hydrozoa เนื่องจากวงจรชีวิตของมันต่างไปจากปะการังแท้ กล่าวคือ เมื่อมีการผสมพันะแบบมีเพส ดพลิปจะแตกหน่อสร้างตัวที่มีลักษณะแบบแมงกระพรุนขนาดเล็กหลุดลอยออกไปเพื่อทำหน้าที่ปล่อยไข่และเสิปร์มออกมาผสมกันต่อไป

ลักษณะรูปร่างของปะการังไฟสังเกตได้ง่ายคือ ช่องที่อยู่ของโพลิปมีขนาดเล็กมาก ดดยแบ่งเป็น 2 ขนาด ช่องขนาดใหญ่มีขนาดเพียงปลายเข็มวึ่งภายในโพลิปทำหน้าที่เกี่ยวกับการกินอาหาร แต่ละช่องถูกล้อมรอบด้วยกลุ่มช่องขนาดเล็กที่พอมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ภายในโพลิปที่มีเข็มพิษเพื่อทำหน้าที่ป้องกันตัว ถ้าพิจารณาดูรายละเอียดที่ผิวหินปูนจะเห็นว่าเรียบมาก ไม่มีหนามขรุขระเหมือนอย่างในปะการังแท้ มีรูปทรงอยู่ 3 แบบ คือแบบกิ่ง แบบเคลือบพื้น และแบบแผ่นแบนที่ตั้งทรงอยู่ในแนวดิ่ง ทุกแบบมีสีเหลืองอมน้ำตาล (สีทอง) ที่ปลายกิ่งหรือขอบแผ่นสีจางลงจนอาจเป็นสีขาว โพลิปมีเซลล์เข็มพิษที่รุนแรงมาก หากไปสัมผัสจะปวดแสบและเป็นผื่นแดง พบได้ 3 ชนิด




17. ปะการังกาแล็กซี่  Galaxy coral  ( Galaxea spp. )
                  
คอรอลลัมอาจเจริญแผ่คลุมพื้นซากปะการังเป็นเนินหรือเจริญเป็นวงแหวนขนาดเล็ก คอรอลไลท์ยื่นขึ้นมาสูงคล้ายตอ และมีสันจัดเรียงตัวในแนวรัศมีเป็นแผ่นสูงต่ำสลับกัน ขนาดความกว้าง ของคอรอลไลท์ประมาณ 5 มิลลิเมตร และยกสูงจากฐานประมาณ 7 มิลลิเมตร ขณะยังมีชีวิตมักมีสีเขียว เป็นส่วนใหญ่และอาจพบสีน้ำตาลหรือเหลืองบ้าง ปะการังกาแล็กซีที่พบในแถบอินโดแปซิฟิกมีเพียงชนิดเดียว เจริญอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง และลึกลงไปถึง 25 เมตร นอกจากนี้ยังชอบบานหนวดออกในเวลากลางวันด้วย



18. ปะการังแผ่นเปลวไฟ หรือ ประการังดอกจอก  Lettuce coral ( Pectinia spp. )

                  
ปะการังดอกจอกคอรอลลัมลักษณะเป็นช่อที่มีผนังกั้นแคลไลซ์เป็นสันสูงบาง ทำให้ช่อปะการังคล้ายผักกาดหอม หรือดอกจอก ส่วนสันที่จัดเรียงตัวในแนวรัศมีไม่ค่อยเจริญ ขนาดความกว้างระหว่างผนังกั้น ประมาณ 8 -15 มิลลิเมตร ปกติมีสีน้ำตาล ปะการังชนิดนี้พบเจริญอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง และลึกลงไปประมาณ 15 เมตร



19. ปะการังตาข่าย ( Tombstone Coral )

                  ปะการังตาข่าย
ปะการังตาข่ายมีคอรอมลัมลักษณะเป็นก้อนหรือแผ่คลุมพื้นซากปะการัง แคลไลท์เป็นรูปเหลี่ยมลายตาข่าย โดยมีผนังกั้นในแนวรัศมีเรียงกัน 3 ชุด ปกติมักมีสีเหลืองอมเขียว พบเจริญอยู่ในแนวปะการังบางแห่งเป็นจำนวนน้อย แต่สามารถพบได้ทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
           


20. ปะการังผักกาดหอม  Lettuce coral  ( Mycedium elephantotus )
                  
คอรอมลัมมีขนาดคล้ายช่อผักกาดที่บิดไปบิดมา มีโพลิปเจริญดีอยู่ทั้งสองด้านตามขอบเป็นสันคม ขนาดความกว้างของช่อประมาณ 30 เซ็นติเมตร ปรกติมีสีเทา หรือน้ำตาล ปะการังชนิดนี้มีความเปราะบางแตกหักได้ง่าย แต่มีความคมมากหากนักท่องเที่ยวไปสัมผัสอาจจะเป็นแผลได้ ปะการังชนิดนี้พบเจริญอยู่ทั่วไปในแนวปะการังตั้งแต่เขตน้ำขึ้นน้ำลงออกไปทั้งแนวอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน และแพร่กระจายทั่วไปแถบอินโดแปซิฟิก


21. ปะการังขนมปังกรอบ ( Cracker Coral )
                 ปะการังขนมปังกรอบ

ปะการังขนมปังกรอบมีคอรอมลัมลักษณะเป็นช่อซึ่งเกิดจากกิ่งก้านสั้นๆ บิดพับไปมา คอรอลไลท์มีขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร มองด้วยตาเปล่าเห็นไม่ชัด ปะการังที่มีชีวิตดูคล้ายขนมปังกรอบสีน้ำตาล พบเจริญอยู่ใต้เขตน้ำขึ้นนน้ำลงทั้งในอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน




22. ปะการังโขดหิน หรือปะการังก้อน ( Hump Coral )
ปะการังโขดหิน
คอรอมลัมมีลักษณะเป็นก้อนขนากฬหญ่คล้ายโขดหิน บางครั้งอาจมีลักษณะเป็นรูปวงแหวน หรือรูปเกือกม้า เนื่องจากโพลิปส่วนบนที่โผล่พ้นน้ำตายลง และมีการทับถมของตะกอนทำให้สาหร่าย หรือฟองน้ำเจริญขึ้นแทน ส่วนโพลิปที่อยู่ทางด้านข้าง สามารถเจริญขยายออกไปได้เรื่อยๆ ทำให้ดูคล้ายแนวปะการังแบบวงแหวนขนาดเล็ก ส่วนที่โผล่พ้นน้ำมักมีสีม่วงแดง หรือสีน้ำตาล แคลไลซ์มีขนาดเล็ก ประมาณ 1 มิลลิเมตร ปะการังชนิดนี้เป็นปะการังที่พบบ่อยมากในแนวปะการังทั่วไป และครอบคลุทพื้นที่ ของแนวปะการังส่วนใหญ่ตั้งแต่เขตน้ำขึ้นน้ำลงและที่ลึกลงไป มีเยอะมากที่เกาะทะลุ


23. ปะการังสมองใหญ่  Large brain coral ( Symphyllia spp. )
                 
ปะการังสมองมีคอรอลไลท์เป็นก้อนคล้ายสมองเนื่องจากบริเวณผิวมีส่วนนูน แคลไลซ์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และคอรอลไลท์กว้างประมาณ 30 เซนติเมตรพื้นผิวมีสีเทาอมน้ำตาล บางก้อนมีขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งอาจจะมีขนาดเท่ารถยนต์ และมีอายุหลายร้อยปี พอได้มากโดยทั่วไป สามารถพบเห็นได้ที่เกาะทะลุและเกาะสิงห์ จ.ประจวบคีรีขันธ์



24. ปะการังดาวสีทอง ( Golden Star Coral )



ปะการังดาวสีทอง
คอรอลลัมลักษณะเป็นก้อน หรือแผ่ขยายคลุมพื้นออกไปทางด้านข้าง แคลไลซ์มีรูปร่างหลายเหลี่ยม หรือเกือบกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 - 15 มิลลิเมตร ผนังกั้นรอบแคลไลซ์มีสันในแนวรัศมีเห็นได้ชัดเจน ทำให้เต่ละโพลิปมีขนาดคล้ายดาวและมีเนื้อเยื่อสีเหลืองทอง ปะการังชนิดนี้พบอยู่ในเขตใกล้ระดับน้ำลงต่ำสุดและลึกลงไป สามารถพบได้ที่เกาะทะลุ ซึ่งที่เกาะทะลุ จะมีทั้งสีน้ำตาลและสีแดง



25.   ปะการังถั่ว ( Bean Coral )
ปะการังถั่ว
คอรอลลัมมีลักษณะเป็นช่อที่มีแคลไลท์ยกขึ้นมาเป็นกำแพงสูงและวกวนไปมาคล้ายปะการังสมอง บางคอรอลลัมอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 2 เมตร สันที่จัดเรียงตัวตามแนวรัศมีเรียบเรียงตัวกัน 3 ชุด หนวดที่ยื่นออกมามีสีขาว เหลือง หรือเขียว ปลายหนวดแบนโค้งเป็นรูปถั่ว ปะการังชนิดนี้พบเจริญอยู่ใต้เขตน้ำขึ้นน้ำลงเป็นส่วนใหญ่
          




26. ปะการังสีเงิน ( Blue Coral )



ปะการังสีน้ำเงินจัดอยู่ในพวกเดียวกับปะการังท่อ คอรอลลัมเป็นก้อนและอาจมีส่วนยื่น ในแนวตั้งฉากเป็นแผ่นหรือเป็นพูช่องรองรับโพลิปกระจัดกระจายกัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และมีสันเทียม ( pseudosepta ) จัดเรียงตัวในแนวรัศมียื่นเข้าไปตรงกลาง จำนวน 10-16 สัน แต่ละโพลิปมีหนวด 8 เส้น ในธรรมชาติมักพบสีน้ำตาลอมเหลือง โพลิปมีสีขาว แต่คอรอลลัมที่ล้างสะอาดแล้วเป็นสีน้ำเงิน พบอาศัยอยู่ในระดับน้ำขึ้นน้ำลง และลึกลงไปประมาณ 15 เมตร ทางฝั่งทะเลอันดามัน


27. ปะการังวงแหวน  Ring coral  ( Favia spp. )
                 
โคโลนีเป็นก้อนมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนมากมีขนาดเล็กมักมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 – 30 เซนติเมตร หินปูนตัวปะการังมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 – 20 มิลลิเมตร ผนังกั้นรอบตัวปะการังเป็นรูปวงกลมหรือรีคล้ายวงแหวน และมีร่องแบ่งระหว่างผนังตัวปะการังชัดเจน ขณะมีชีวิตมักมีสีเขียวหรือน้ำตาล ปะการังกลุ่มนี้เป็นกระเทย เซลล์สืบพันธุ์ผสมภายนอกตัว พบได้บ่อยตามแนวปะการังทั่วไปทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน โดยเจริญอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงไปถึงในบริเวณที่ลึกของแนวปะการัง

28. ปะการังอ่อนหนาม ( Spinous Softcoral )


ปะการังหนาม
ปะการังอ่อนหนาม โคโลนีมีลักษณะคล้ายต้นไม้ที่ออกดอกบานสะพรั่งทั้งต้น ขนาดความสูงประมาณ 25 เซนติเมตร โดยมีส่วนของลำต้นเป็นแกนกลางให้แขนงที่แตกช่อออกทางด้านข้างได้ยึดเกาะ กิ่งที่แยกออกจากลำต้น จะแตกแขนงออกไปอีกจำนวนมาก และมีโพลิปอยู่ตรงส่วนปลายของแขนง นอกจากนี้บริเวณเนื้อเยื่อของกิ่งก้าน ยังมีหนาม ( spicule ) แทรกอยู่ และยื่นออกมาจากผิวด้วย ส่วนที่เป็นลำต้นมักมีสีขาว ส่วนปลายแขนงที่มี โพลิปนั้นมีสีสันสวยงามแตกต่างกัน ได้แก่ ชมพู ม่วงอ่อน น้ำตาล และส้ม เป็นต้น ปะการังอ่อนชนิดนี้ พบอาศัยอยู่ในแนวปะการังใต้ระดับน้ำลงต่ำสุด ในบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลแรง และถูกพัดโอนเอนไปมาได้ หาชมได้ยาก



29. ปะการังรังผึ้ง  Honey comb coral  ( Goniastrea spp. )
                  
ปะการังผึ้งมีคอรอลลัมมีรูปร่างหลายแบบ แจมีลักษณะเป็นก้อน เป็นช่อหรือแผ่คลุมซากปะการัง แคลไลซ์ส่วนใหญ่ เป็นรูป 5 - 6 เหลี่ยม จนถึงรูปวงกลม สันที่จัดเรียงตัวตามแนวรัศมียื่นเข้าไปตรงกลางเป็นหน้าผา ผนังกั้นระหว่าง แคลไลซ์ใช้ร่วมกับแคลไลซ์ข้างเคียง ซึ่งต่างจากปะการังแหวนสกุล favia ที่ผนังกั้นแยกกัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ของแคลไลซ์ประมาณ 8 มิลลิเมตร ปกติมักมีสีเขียวคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม ปะการังชนิดนี้เป็นชนิดที่พบได้บ่อยมากในแนวปะการังทั่วไป และมีการแพร่กระจายตั้งแต่ทะเลแดง ถึงออสเตรเลีย

                                                                                                                                 
30. ปะการังสมอง  Brain coral  ( Platygyra spp. )

 ปะการังจานมีลักษณะเป็นแผ่หนาพันไปมาคล้ายช่อผักกาดขนาดใหญ่ ผิวทางด้านนอกเรียบไม่มีตัวปะการังอยู่ จะมีแต่เฉพาะทางผิวด้านในและขอบด้านบน หินปูนตัวปะการังมีขนาดเส้นผ่า- ศูนย์กลางประมาณ 2 - 5 มิลลิเมตร ขณะยังมีชีวิตมีสีเทาอมน้ำตาล ปะการังชนิดนี้ส่วนใหญ่พบอยู่ในระดับน้ำลึกของแนวปะการังทั้งในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

 

        สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแนวปะการัง



                  

ปะการังสมองมีคอรอลไลท์เป็นก้อนคล้ายสมองเนื่องจากบริเวณผิวมีส่วนนูน แคลไลซ์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และคอรอลไลท์กว้างประมาณ 30 เซนติเมตรพื้นผิวมีสีเทาอมน้ำตาล บางก้อนมีขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งอาจจะมีขนาดเท่ารถยนต์ และมีอายุหลายร้อยปี พอได้มากโดยทั่วไป สามารถพบเห็นได้ที่เกาะทะลุและเกาะสิงห์ จ.ประจวบคีรีขันธ์

 ปะการังสีเงิน
ปะการังสีน้ำเงินจัดอยู่ในพวกเดียวกับปะการังท่อ คอรอลลัมเป็นก้อนและอาจมีส่วนยื่น ในแนวตั้งฉากเป็นแผ่นหรือเป็นพูช่องรองรับโพลิปกระจัดกระจายกัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และมีสันเทียม ( pseudosepta ) จัดเรียงตัวในแนวรัศมียื่นเข้าไปตรงกลาง จำนวน 10-16 สัน แต่ละโพลิปมีหนวด 8 เส้น ในธรรมชาติมักพบสีน้ำตาลอมเหลือง โพลิปมีสีขาว แต่คอรอลลัมที่ล้างสะอาดแล้วเป็นสีน้ำเงิน พบอาศัยอยู่ในระดับน้ำขึ้นน้ำลง และลึกลงไปประมาณ 15 เมตร




 
31. ปะการังช่องแขนง ( Branching Pore Coral )

ปะการังช่อแขนง
ปะการังช่อแขนงมีคอรอมลัมลักษณะเป็นช่อ คล้ายปะการังพุ่มไม้ ขนาดกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร แคลไลซ์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร และไม่มีคลอรอไลท์ที่อยู่ปลายยอดเหมือนปะการังเขากวาง ปะการังชนิดนี้เจริญอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงทางด้านในของขอบ พบอยู่ทั่วไปในแนวปะการังของไทย ทั้งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน
                  


32. ปะการังสมอง Brain coral  ( Oulophyllia crispa )

                  
ปะการังสมองมีคอรอลไลท์เป็นก้อนคล้ายสมองเนื่องจากบริเวณผิวมีส่วนนูน แคลไลซ์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และคอรอลไลท์กว้างประมาณ 30 เซนติเมตรพื้นผิวมีสีเทาอมน้ำตาล บางก้อนมีขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งอาจจะมีขนาดเท่ารถยนต์ และมีอายุหลายร้อยปี พอได้มากโดยทั่วไป สามารถพบเห็นได้ที่เกาะทะลุและเกาะสิงห์ จ.ประจวบคีรีขันธ์


33. ปะการังดาวใหญ่  Double star coral  ( Fiploastrea heliopora
                                            
  เป็นปะการังที่มีโคโลนีเป็นก้อนขนาดใหญ่ อาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางของโคโลนีมากกว่า 2 เมตร ตัวปะการังแต่ละตัวภายในโคโลนีแยกจากกันชัดเจน โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 – 10 มิลลิเมตร ซี่ฟัน (septa) เป็นแผ่นหนาและเรียงกันเป็นวงคล้ายดอกไม้ ขอบริมอาจสูงกว่าระดับผนังได้ถึง 2 มิลลิเมตร ส่วนมากมักพบเป็นโคโลนีขนาดใหญ่ในบริเวณส่วนล่างของแนวลาดชัน และมักพบการตายเป็นบางส่วนภายในโคโลนีขนาดใหญ่


34. 
   ปะการังพุ่มไม้ ( Cauliflower Coral )

 

ปะการังพุ่มไม้

ปะการังพุ่มไม้มีคอรอมลัมเป็นช่อคล้ายกิ่งก้านของพุ่มไม้ ตามปรกติกิ่งก้านที่แตกแขนงออกมีลักษณะกลม หรือแบนเล็กน้อย เมื่อตัดตามขวางแคลไลซ์จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 มิลลิเมตร เป็นรูปสี่ถึงหกเหลี่ยมคล้ายลายตาข่าย ขนาดช่อโคโลนีกว้างประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร ปะการังชนิดนี้พบอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงจนถึงขอบด้านนอกของแนวปะการัง และเป็นปะการังที่พบได้บ่อยมากในแนวปะการังทั่วไป นอกจากนี้ระหว่างกิ่งก้านของปะการังมักมีปูใบ้ปะการัง (Trapezia cymdoce) อาศัยอยู่ด้วยเสมอ
          


35. ปะการังสันหนาม ( Crispy Crusted Coral )
                  
คอรอลลัมลักษณะแบบเป็นแผ่นหยักไปมาแผ่ขยายคลุมซากปะการัง และมีสันคม จัดเรียงตัวตามแนวยาวออกไปยังขอบ ทำให้มีวดลายคล้ายคลึงปะการังสมอง โดยมีร่องระหว่างสันกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร บางคอรอลลัมอาจแตกแขนงด้วย และมีสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลอมม่วง ปะการังชนิดนี้พบอยู่ในเขตใกล้ระดับน้ำลงต่ำสุด และลึกลงไปประมาณ 10 เมตร ตัวอย่างในภาพได้มาจากอ่าวมะขาม จ. ภูเก็ต


36.ปะการังพิศวง ( Wonder Coral ) 

                  
ปะการังชนิดนี้มีความสวยงามคล้ายดอกไม้ทะเล ลักษณะที่เห็นเด่นชัดก็คือฐานหนวดรอบปาก แผ่แบนกว้างออก มีลายเส้นในแนวรัศมีไปยังขอบซึ่งมีหนวดสีน้ำตาลหรือเขียวเรียงรายเป็นแถว และตรงปลายหนวดมีปุ่มสีชมพู คอรอลลัมมีลักษณะคล้ายปะการังสมองหยาบที่มีแคลไลท์ขนาดใหญ่ จัดเรียงตัวเป็นแถววกวนไปมา ปะการังชนิดนี้พบอยูในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ระดับลึกประมาณ 20 เซนติเมตร ทางฝั่งทะเลอันดามัน



37. ปะการังหนวดถั่ว หรือ หนวดสมอ  Bean coral  ( Euphyllia ancora )

                  
ปะการังหนวดถั่ว หรือหนวดสมอ Bean coral (Euphyllia ancora) มีโพลิปขนาดใหญ่ ที่ปลายหนวดมีลักษณะเหมือนเมล็ดถั่วหรือสมอเรือ38. ปะการังลูกโปร่งใหญ่  Rounded bubblegum coral  ( Plerogyra sinuosa )
                  


ปะการัลูกโป่งใหญ่ Rounded bubblegum coral (Plerogyra sinuosa) ตอนกลางวันผนังลำตัวปะการังจะพองตัวกลมเหมือนลูกโป่ง หรือไข่ปลาหมึก ตอนกลางคืนมีหนวดยื่นออกมา


39. ปะการังลูกโปร่งเล็ก  Tipped  bubblegum coral  ( Physogyra lichtensteini )
                  
                                                                                                                                        
ปะการังลูกโป่งเล็ก Tipped bubblegum coral (Physogyra lichtensteini) ผนังลำตัวโป่งพองแต่มีขนาดเล็ก บางครั้งลูกโป่งมียอดแหลม หนวดยื่นออกมาตอนกลางคืน
40. ปะการังจาน  หรือ ประการังแจกัน  Disc coral, Vase coral  ( Turbinaria spp. )
starfsh1.gif (4160 bytes)                  
 
1. สาหร่ายเซลเดียว มีความสำคัญต่อชีวิตในแนวปะการังอื่นๆ เพราะทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตธาตุอาหารเบื้อต้นด้วยการสังเคราะห์แสงจากพลังงานแสดงอาทิตย์สาหร่ายเป็นอาหารแก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้แก่ ตัวปะการัง และแพลงก์ตอน

c_017 copy.jpg (17415 bytes)  a_co2.gif (71917 bytes)  c_019 copy.jpg (13466 bytes)

2. หญ้าทะเล เจริญเติบโตได้ดีในแนวปะการังที่ราบเรียบ และบริเวณชายฝั่งทะเลหญ้าทะเลเป็นอาหารของเต่าทะเลพะยูนและปลาบางชนิด นอกจากนี้รากของหญ้าทะเลยังช่วยในการป้องกันการกัดเซาะหน้าดินอีกด้วยfishswim5.gif (9662 bytes)

3. ฟองน้ำ เป็นสัตว์น้ำหลายเซลมีขนาดต่างๆ กัน ทั้งลักษณะและรูปร่างสีสัน บางชนิดเป็นรูปด้วยเป็นก้อน เป็นแผ่นบางๆ และบางชนิดมีสีสันสดสวยงดงามมาก ฟองน้ำทำหน้าที่ผลิตสารที่มีคุณค่าให้แก่เพรียง หญ้าทะเล สัตว์น้ำอื่นและฟองน้ำบางชนิดยังเป็นอาหารของมนุษย์ด้วย

4. ปะการังอ่อน ปะการังชนิดนี้ไม่สร้างโครงหินปูนห่อหุ้มตัวแต่จะสร้างโครงหินปูนภายในตัวของมันเองสามารถสะบัดไหวไปมาตามกระแสน้ำได้จึงเรียกว่าปะการังอ่อนมีลักษณะเป็นแท่งเรียวเหมือนเขาสัตว์ซึ่งสามารถโก่งงอได้มีสีสันหลายหลายสวยงามทั้งที่เติบโตเป็นต้น เป็นกอและเป็นแผ่น

5. กัลปังหา เป็นปะการังที่มีหลายสีรูปทรงเรียวยาวและมีกิ่งก้านสาขาแผ่คล้ายต้นไม้ กิ่งก้านหนึ่งของกัลปังหาอาจมีความยาวตั้งแต่ 2-3 นิ้ว ไปจนถึงความยาวเป็นเมตร

6. ดอกไม้ทะเล เป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับปะการังมีรูปร่างทรงกระบอกด้านล่างเป็นฐานยึดติดกับก้อนหิน มีหนวดมีเข็มพิษสำหรับจับปลาเล็กๆ กินเป็นอาหาร มีสันของดอกไม้ทะเล คือ ปลาการ์ตูนซึ่งนอกจากจะมีสีสวยงามแล้ว ยังมีเมือกกันพิษจากดอกไม้ทะเลหุ้มตัวอยู่ ทำให้ไม่ได้รับอันตราย

7. หนอนทะเล มีหลายชนิด บางชนิดมีขนาดเล็กอาศัยอยู่ในรอยแตกหรือซอกหินของแนวปะการังมีรูปร่างสีสันสวยงาม หนอนทะเลเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการแตกสลายของปะการังโดยการขุดโพรงเป็นที่อยู่อาศัยเศษหินที่ขุดออกมาก็จะกลายเป็นเศษหินหรือทราย

c_020 copy.jpg (13373 bytes)  c_021 copy.jpg (15955 bytes)  c_022 copy.jpg (14847 bytes)

8. สัตว์อื่นๆ ที่อาศัยในแนวปะการัง
หอย ได้แก่ หอยเบี้ย หอยสังข์ หอยนางรม หอยมือเสือ หอยเต้าปูน และหอยสังข์แตร โดยหอยสังข์แตรเป็นหอยที่กินปลาดาวมงกุฎหนามซึ่งเป็นศัตรูของปะการังจึงมีความสำคัญต่อปะการังสูงมาก
หมึกทะเล เป็นหอยชนิดที่ไม่มีเปลือก ลำตัวอ่อนนุ่มมีหนวดสำหรับจับเหยื่อจำพวก กุ้ง ปู ปลา เป็นอาหารหมึกทะเลจะพ่นหมึกสีดำจากตัวในเวลาที่จะหนีศัตรู หมึกทะเลมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ หมึกยักษ์และหมึกธรรมดา ซึ่งได้แก่ หมึกกล้วย หมึกกระดอง
octopus1.gif (10690 bytes)กุ้งและปู เช่น ปูปะการัง มีกระดองกว้างถึง 6 นิ้ว กระดองมีสีแดงสลับเหลืองอ่อนและสีขาวเป็นปูที่มีก้ามแข็งแรงมาก และใช้เป็นอาวุธสำหรับจับเหยื่อกุ้งพยาบาล ลำตัวมีสีแดงสลบขาว กินตัวพยาธิที่เกาะอยู่ตามผิวหนังของปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังเป็นอาหาร จึงเรียกว่ากุ้งพยาบาล กุ้งมังกร เป็นกุ้งขนาดใหญ่ มีความยาวถึง 2 ฟุตและมีน้ำหนัก เมื่อโตเต็มที่เกือบถึง 12 กิโลกรัม ตัวมีสีน้ำเงินหัวใหญ่มีหนามและมีหนวดอยู่ 2 เส้น หนวดมีความยาวมากกินหนอนทะเล ทากทะเลและปูเป็นอาหาร ปัจจุบันกุ้งมังกรเป็นที่นิยมบริโภคจึงถูกจับขึ้นมาจากท้องทะเลด้วยน้ำหนักเพียง 1-2 กิโลกรัมทำให้กุ้งมังกรค่อยๆ สูญพันธุ์ไปจากทะเลอย่างรวดเร็ว
ปลาต่างๆ ปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังมีทั้งปลาที่เป็นอาหารและปลาประเภทสวยงาม ได้แก่ปลาสิงโต ปลานกแก้ว ปลาการ์ตูน และปลาผีเสื้อ โดยเฉพาะปลาการัง หรือปลาเก๋าปลาชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่จะมีลำตัวใหญ่มาก มีความยาวถึง 2 เมตรปลานกแก้วนอกจากจะเป็นปลาสวยงามแล้วยังมีปากและขากรรไกรที่แข็งแรงคล้ายนกแก้วมีฟันหลายแถว กินสาหร่ายและปะการังเป็นอาหาร ปลานกแก้วจะกัดทั้งก้อนปะการังและจะย่อยเฉพาะตัวปะการัง ส่วนโครงสร้างแข็งนั้นจะขับถ่ายคายออกมาเป็นเศษละเอียดกลายเป็นเม็ดทรายละเอียดต่อไป



c_023 copy.jpg (16698 bytes)  c_024 copy.jpg (17354 bytes)  c_025 copy.jpg (17054 bytes)



สัตว์ที่มีผิวหนังเป็นปุ่ม ที่อาศัยทั่วไปในแนวปะการัง ได้แก่ หอยเม่น มีหลายชนิดโดยทั่วไปมีรูปร่างกลม มีหนามที่ผิวหอยเม่นที่พบส่วนใหญ่จะมีสีดำ หนามเปราะหักตำได้ง่ายแต่ที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังนั้น มีทั้งชนิดหนามสั้น หนามยาว หนามแหลม หนามทู่ และหอยเม่นที่นิยมเก็บมาทำของที่ระลึก ได้แก่ หอยเม่นหนามสั้น และหอยเม่นดินสอ ดาวทะเล มีหลายชนิด หลายสีรูปร่างแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนลำตัว และส่วนแขนที่แยกออกไปเป็นแฉกคล้ายรัศมีดาว ส่วนใหญ่มีรัศมี 5 แฉก บางชนิดอาจมีมากกว่านั้น ดาวทะเลส่วนใหญ่กินหอยเป็นอาหาร แต่มีดาวทะเลชนิดกินปะการังเป็นอาหาร ได้แก่ ดาวมงกุฎหนาม ดาวมงกุฎหนาม หรือที่เรียกว่าปลาดาวหนาม (Crown of Thorns Starfish) เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง รูปร่างมีลักษณะเป็นแฉกคล้ายดาวและมีหนามอยู่บนผิวหนังรอบตัวบริเวณใต้แขนที่เป็นแฉกแต่ละแขนจะมีขาเป็นหลอดสั้นเรียงกันเป็นแถวสำหรับใช้จับอาหารและเคลื่อนที่การเคลื่อนที่นี้เป็นไปอย่างเชื่องช้า แต่สามารถเคลื่อนที่ได้ทุกแนวระดับตามพื้นท้องทะเล ดาวมงกุฎหนามจะกินเนื้อเยื่อของปะการังเป็นอาหาร
ปะการังที่ถูกดาวมงกุฎหนามกินมากที่สุด ได้แก่ ปะการังเขากวาง ปะการังเห็นและปะการังที่ไม่ถูกดาวมงกุฎหนามกินเลย ก็คือปะการังสีน้ำเงิน
















ประโยชน์ของแนวปะการัง.
starfsh1.gif (4160 bytes)1. แนวปะการังบริเวณชายฝั่งและแนวปะการังแบบกำแพง ช่วยป้องกันชายฝั่งจากการกัดเซาะของคลื่นและกระแสน้ำโดยตรง บริเวณชายฝั่งที่แนวปะการังถูกทำลายจะถูกกัดเซาะอย่างรุนแรงจากคลื่นลมทะเลในฤดูมรสุม07-Damsel copy.jpg (32781 bytes)

2. แนวปะการังเป็นแหล่งกำเนิดทรายให้กับชายหาด ทั้งจากการสึกกร่อนของโครงสร้างหินปูน การกัดกร่อนโดยสัตว์ทะเลบางชนิดและจากกระแสคลื่น ซึ่งทำให้หินปูนปะการังแตกละเอียดเป็นเม็ดทรายที่ขาวสะอาด มีการประมาณว่าแร่ธาตุแคลเซียมคาร์บอเนตที่ทับถมในมหาสมุทรนั้น ร้อยละ 50 เกิดจากแนวปะการัง

06-Crinoid copy.jpg (41752 bytes)
3. แนวปะการังเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์และยังเป็นที่อยูอาศัยของสัตว์และพืชนานาชนิด ที่อาศัยอยู่เฉพาะในแนวปะการัง เช่น เต่าทะเลและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ปลาหมึก หอย กุ้ง แมงกะพรุน และปลิงทะเล เป็นต้น

4. แนวปะการังเป็นแหล่งที่มาของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น ปูนขาว กระเบื้อง และทราย

fishswim7.gif (9223 bytes)
5. สิ่งมีชีวิตบางชนิดในแนวปะการัง เช่น Sea hare และ Sea fan ผลิตสารพิษเพื่อป้องกันตัวเองนั้น สามารถนำมาสกัดใช้ทำยา เช่น ยาต่อต้านโรคมะเร็ง ยาต่อต้านจุลชีพและน้ำยาป้องกันการตกผลึกและแข็งตัว เป็นต้นshark3.gif (10256 bytes)

6. แนวปะการังเป็นเสมือนห้องทดลองทางนิเวศวิทยา ในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมาได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศในแนวปะการังเพิ่มขึ้นอย่างมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตFish0051 copy.jpg (27554 bytes)

7. แนวปะการังจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเลที่มีความสวยงาม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและน้ำทะเลที่ใสสะอาด ปะการังจึงเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวการดำน้ำและการถ่ายภาพใต้น้ำ

c_049 copy.jpg (19778 bytes)8. ปะการังเป็นสินค้า มีกิจการส่งออกสินค้าปะการัง เปลือกหอย กระดองเต่า และปลาสวยงาม ซึ่งกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักในการผลิตเครื่องประดับที่นิยมไปทั่วโลก ปัจจุบันห้ามการส่งออกปะการังและเต่าทะเลอย่างเด็ดขาดstarfish.gif (4212 bytes)



แนวปะการังแถบเอเชียอาคเนย์crab.gif (10565 bytes) 



13-Octo_pol copy.jpg (30815 bytes)Pink Skunk Anemonefish-2.jpg (42211 bytes)แนวปะการังบริเวณชายฝั่ง เป็นแนวปะการังที่พบมากที่สุดในพื้นที่ทะเลแถบเอเชียอาคเนย์ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ซึ่งมีมากถึง 30% ของแนวปะการังประเภทนี้ของโลก บริเวณที่พบทั่วไปก็คือเกาะขนาดเล็กและขนาดกลางซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในท้องทะเล

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีแนวปะการังมากที่สุดคือประเทศอินโดนีเชีย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความยาวของแนวชายฝั่งทะเลรวมกันถึง 81,000 กิโลเมตร ปะการังส่วนใหญ่พบในบริเวณชายฝั่งทางใต้และหมู่เกาะทางตะวันออก
shark3.gif (10256 bytes)  fish8.gif (13633 bytes)
ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการัง เนื่องจากมีชายฝั่งทะเลที่ยาวรวมกันถึง 18,000 กิโลเมตร และจะพบแนวปะการังทั่วไปตามแนวชายฝั่งของเกาะต่างๆ
02-Anem_mou copy.jpg (19426 bytes)บริเวณเกาะ แถบชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นเกาะที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดและเจริญเติบโตของปะการัง ส่วนบริเวณอ่าวไทยนั้นมีข้อจำกัดของการเจริญเติบโตของปะการังค่อนข้างสูง
octopus2.gif (10965 bytes)



shark3.gif (10256 bytes)
จังหวัดสถานที่
จังหวัดชลบุรีสีชัง ค้างคาว ท้ายตาหมื่น ล้าน ครก สาก มารวิชัย ไผ่ กลึงบาดาล หูช้าง นก แสมสาร แรด ครามใหญ่ ครามน้อย เกล็ดแก้ว เขาแหลมขาม ขามน้อย ขามใหญ่ ปรง พานดอกไม้ จวง ริ้น อีเลา อ่าวทุ่งไก่เตี้ย แหลมปู่เจ้า จาน
จังหวัดระยองสะเก็ด เสม็ด หินคันนา หินขาว เกาะจันทร์ ปลายตีน กรวย เกล็ดฉลาม กุฎี ท้ายค้างคาว ทะลุ ยุ้งเกลือ มันใน มันนอก มันกลาง
 
fishswim2.gif (18039 bytes)
จังหวัดจันทบุรีอ่าวเจ้าหลาว นมสาว
จังหวัดตราดช้าง ช้างน้อย หยวก ปลี มันนอก มันใน พร้าวใน พร้าวนอก คลุ้ม เหลาใน เหลานอก เหลากลาง ระยังใน ระยังนอก กระ ไม้ซี้ใหญ่ ไม้ซี้เล็ก หวาย กูด หมาก กระดาด รัว ร่ม เทียน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์แรด เหลื่อม อีแอ่น พิง พัง จาน รำร่า หินกรูด ทะลุ สิงห์ สังข์
จังหวัดชุมพรมะพร้าว มาตรา ทองหลาง ลังกาจิว รังห้า ไข่ จระเข้ ละวะ ทะลุ ง่ามใหญ่ ง่ามน้อย หลักง่าม กุลา อีแรด ค้างเสือ มัดหวายใหญ่ มัดหวายน้อย ทองแก้ว กระ ยูง หลักแรด ทะลุ สาก
จังหวัดสุราษฎร์ธานีเต่า หางเต่า นางยวน หินกงทรายแดง หินชุมพร หินวง หินตุ้งกู หินใบ ทองทั้งแท่ง สามเส้า วัวเตะ มัดโกง พงัน แรด แม่เกาะ แตน แตนอก แตใน วังใน มดแดง วังนอก หินอ่างวัง สมุย มัดหลัง มัดสุ่ม ท้ายเพลา
จังหวัดปัตตานีเล่าปี่ หินกวนอู
จังหวัดนราธิวาสโลซิน
จังหวัดระนองพะยาม ค้างคาว ลูกกำตก กำใหญ่ กำนุ้ย ลูกกำกลาง ลูกกำออก ล้าน ไข่ ร่ม ช้าง ทะลุ ตาครุฑ หม้อ ปริง ไร่ ไฟไหม้
จังหวัดพังงาสุรินทร์เหนือ สุรินทร์ใต้ ปาจุมบา ตอรินลา สต๊อค หินแพ หินกอง ริเชลิว ตาชัย บอน สันฉลาม เกาะหนึ่ง-เก้า(หมู่เกาะสิมิลัน) ละวะใหญ่ ยาวใหญ่ ยาวน้อย
จังหวัดภูเก็ตหาดไนยาง อ่าวบางเทา อ่าวกะตะ หาดกมลา อ่าวป่าตอง แหลมพรหมเทพ ไม้ท่อน ตะเภาใหญ่ นาคาน้อย บอน ราชาใหญ่ ราชาน้อย เฮ

                               
fishswim7.gif (9223 bytes)จังหวัดกระบี่ลันตา พีพีดอน พีพีเล ด้ามหอก ไม้ไผ่ หาดนพรัตน์ธารา ด้ามขวาน ยูง ห้อง แดง ปอดะใน ปอดะนอก
จังหวัดตรังไหง รอกใน รอกนอก แหวน เชือก มุก กระดาน ตะลิบง ไน หลาวเหลือง เภตรา หินแดง หินม่วง เหลาเหลียงเหนือ เหลาเหลียงใต้ แดง
จังหวัดสตูลตะรุเตา อาดัง ราวี กลาง รอก หินงาม ไข่ หลีเป๊ะ ยาง ดง บุโหลนใหญ่ บุโหลนขี้นก บุโหลนไม้ไผ่ หินขาว  
                                                           starfish.gif (4212 bytes)




ปัญหาและความเสื่อมโทรม

ปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของแนวปะการังขึ้นกับอิทธิพลของกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบริเวณแนวปะการัง ซึ่งถ้าแนวปะการังถูกทำลายจนเสื่อมโทรมความสมดุลของระบบนิเวศก็จะถูกทำลายไปด้วย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรประมงในบริเวณแนวปะการังและบริเวณใกล้เคียง และทำให้เกิดการพังทลายของชายหาดที่สวยงาม ส่งผลต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวได้ สาเหตุและแนวโน้มของปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของแนวปะการังมีดังนี้


1. ผลกระทบจากธรรมชาติต่อแนวปะการัง
ปัญหาจากธรรมชาตินั้นมีได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การระบาดของดาวมงกุฎหนาม  เนื่องจากปลาดาวมงกุฎหนามเป็นสัตว์กินปะการังเป็นอาหารโดยตรง  เมื่อมันเพิ่มจำนวนขึ้นมากก็จะมีการกินปะการังมากขึ้น  ผลกระทบจากการเกิดพายุ และคลื่นลม คลื่นและกระแสลมที่แรงจะทำให้กิ่งก้านของปะการัง เกิดการแตกหักเสียหายได้มาก ผลกระทบส่วนใหญ่จะเกิดในปะการังกิ่งมากกว่าปะการังก้อน โดยกลุ่มของปะการังจะฟื้นตัวภายใน 1 ปี โดยพายุจะส่งผลให้ความหลากหลายของปะการังลดลงได้ แต่มันจะมีการเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อได้รับแสงสว่าง สามารถเติบโตเพิ่มโคโลนีได้ต่อไป   ผลจากการลดลงของระดับน้ำอย่างผิดปกติ ทำให้ปะการังได้รับแสงเป็นเวลานานเกินไป อาจให้สาหร่ายซูแซนเทลลี่ตาย ส่งผลต่อปะการังได้


ปะการังฟอกขาวการระบาดของดาวมงกุฎหนาม


2. ผลกระทบจากมนุษย์ต่อแนวปะการัง


การที่มนุษย์เข้าไปในแนวปะการังย่อมเกิดผลกระทบต่อแนวปะการังอย่างแน่นอน  กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เราพบบริเวณรอบเกาะหรือชายฝั่งนั้นเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมในทะเล
ในพื้นที่ท้องถิ่นบริเวณเกาะ ประชากรค่อนข้างจะมีขนาดเล็ก การป้องกันสภาพแวดล้อมทางทะเลของพื้นที่ขนาดเล็กนั้นทำได้โดยการเริ่มต้นจากคนในครอบครัว หรือหมู่บ้าน  ประชากรแต่ละคนในกลุ่มนี้มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลอย่างดี  เขาสามารถใช้ทรัพยากรทางทะเลโดยไม่ทำลายระบบนิเวศแนวปะการัง เขาจะสร้างการใช้ประโยชน์ทรัพยากรแบบยั่งยืน (ecologically sustainable)
การเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากร ชักนำการทำประมงแบบใหม่และเครื่องมือแบบตะวันตกหรือจากต่างชาติเข้ามาแทนที่วิธีการทำประมงแบบดั้งเดิม จึงทำให้เกิดการทำลายระบบนิเวศแนวปะการัง  การทำลายแนวปะการังหลาย ๆ ครั้งนั้นเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรบริเวณชายฝั่งโดยตรง  ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่
  • น้ำเสีย (Sewage pollution)
น้ำเสียนั้นจะประกอบด้วยสารอาหารจำนวนมาก เช่น ไนเตรท และฟอสเฟต  การเพิ่มขึ้นของสารอาหารในน้ำทำให้สาหร่ายสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว  สาหร่ายแข่งขันแย่งพื้นที่กับปะการัง ดังนั้นบางครั้งสาหร่ายเติบโตครอบคลุมก้อนปะการัง ทำให้ปะการังตาย
กรณีศึกษา อ่าวKanehoe
ผลกระทบจากมลพิษที่มีสาเหตุจากน้ำเสียนั้นเคยเกิดขึ้นที่อ่าว Kanehoe เกาะฮาวาย ซึ่งอ่าวนี้มีปะการังที่สวยงาม  ในปี ค.ศ. 1950 ประชากรของเกาะฮาวายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นผลให้มีการปล่อยน้ำเสียปริมาณมากลงในอ่าว ส่งผลให้ธาตุอาหารที่อยู่ในน้ำเสีย เช่นปุ๋ยเพิ่มการเติบโตของสาหร่ายและวัชพืช ดังนั้นสาหร่ายและวัชพืชจึงเติบโตอย่างรวดรวด เกิดการแข่งขันเรื่องพื้นที่กับปะการัง ไม่นานทั้งอ่าวก็ปกคลุมไปด้วยสาหร่ายและวัชพืช  รวมทั้งสัตว์น้ำที่กินอาหารด้วยการกรองกิน  เช่น เพรียงหัวหอม ฟองน้ำ ไส้เดือนทะเล
ในขณะที่ปะการังตายลงเกือบทั้งหมด ต่อมา ในปี ค.ศ. 1978  กลุ่มนักวิทยาศาสตร์และสาธารณะชนได้สร้างกระแสกดดัน ทำให้ปล่อยน้ำเสียไกลฝั่งห่างจากอ่าวมากขึ้น  ปะการังปริมาณน้อยที่เหลืออยู่นั้นก็มีการเติบโตและสืบพันธุ์  ประชากรสาหร่ายและวัชพืชก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อไม่มีธาตุอาหารจากน้ำเสีย สาหร่ายก็ไม่สามารถเติบโตได้เร็วเท่ากับปะการัง ปะการังก็ยึดพื้นที่คืนมา
  • การเก็บปะการัง
บางประเทศมีการสะสมปะการังเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง  นอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์ปะการังเป็นของที่ระลึกและตกแต่งในตู้ปลา  การนำก้อนปะการังออกจากแนวปะการังนั้นมีความสำคัญ  ทั้งนี้เนื่องจากชีวิตสัตว์จำนวนมากขึ้นอยู่กับปะการังทั้งในเรื่องของอาหารและที่อยู่อาศัย
นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของขนาดประชากรของมนุษย์มีผลกระทบบางประการแม้ว่าจะไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงก็ตาม

  • ปัญหาจากการท่องเที่ยวในแนวปะการัง
                การพัฒนาการท่องเที่ยวก็สามารถกลายเป็นอันตรายขนาดใหญ่สำหรับแนวปะการังได้เช่นกัน โรงแรม หรือรีสอร์ทขนาดใหญ่ที่อยู่บนฝั่งใกล้กับแนวปะการังนั้น สามารถทำลายแนวปะการังได้ เนื่องจากน้ำเสียที่เป็นอินทรีย์สารนั้นอาจปล่อยลงบนแนวปะการัง เหตุการณ์เช่นนี้สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการบำบัดน้ำเสียและปล่อยลงที่ไกลจากแนวปะการัง
การทำลายอื่น ๆ นั้นเกิดจากการไม่มีประสบการณ์ หรือการดำน้ำอย่างไม่ระมัดระวัง และการทอดสมอเรือ ซึ่งทำให้ปะการังแตกหัก และในบางครั้ง ทำให้เกิดการทำลายสัตว์จำนวนมากในแนวปะการังเพื่อนำมาทำเป็นของที่ระลึกขายนักท่องเที่ยว
  • การพัฒนาแนวชายฝั่ง
เมื่อมีประชากรเข้ามาใช้พื้นที่เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวชายฝั่งมากขึ้นด้วย มีการนำเอากิจกรรม และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เข้ามาในพื้นที่ชายฝั่ง เช่น การใช้พื้นที่เพื่ออุตสาหกรรม สร้างที่อยู่อาศัย สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สนามบิน การก่อสร้างท่าเรือ การขุดรอก และอื่นๆ อีกมากมาย   ซึ่งกิจกกรมเหล่านี้จะไปรบกวนการไหลเวียนของระบบน้ำ ทำให้รูปแบบการทับถมของตะกอนดินเปลี่ยนแปลงไปอาจเกิดตะกอนทับถมในแนวปะการังเพิ่มมากขึ้นจนทำให้ปะการังตายในที่สุด

แนวทางการอนุรักษ์ปะการัง

Star.gif (31326 bytes) จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของการพัฒนาบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทย และกิจกรรมการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆในแนวปะการังที่เพิ่มมากขึ้นได้ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อคุณค่าทางธรรมชาติและระบบนิเวศของแหล่งปะการังดังนั้นสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมจึงได้มีการประสานความร่วมมือจากหน่วยงามต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ
 1. มาตรการเร่งด่วนการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลด้านป่าชายเลนและปะการัง 
ซึ่งมีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ
shell1.gif (4900 bytes) การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีปะการังจังหวัด รับผิดชอบดำเนินการโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความร่วมมือในการประกาศเขตรักษาพืชพันธุ์
  การป้องกันการทำลายปะการังและการประชาสัมพันธ์โดยกรมประมง กรมป่าไม้ กองทัพเรือ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม และจังหวัดรับผิดชอบดำเนินการ
 มาตรการเร่งด่วนดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2534
  2. แผนปฏิบัติการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล จังหวัดภูเก็ต บริเวณหาดป่าตอง กะรน กะตะ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2534 ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ จะมีแผนการจัดการปะการังรวมอยู่ด้วย
  3. นโยบาย มาตรการ และแผนปฏิบัติการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2535 สาระสำคัญมีดังนี้
 ให้มีการจัดการปะการังโดยสอดคล้องกับคุณค่าทางนิเวศวิทยาและเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างกิจกรรมการใช้ประโยชน์ต่างๆ
 ลดและป้องกันปัญหาความเสื่อมโทรมของปะการังcrab.gif (10565 bytes)
 สนับสนุนให้มีการคุ้มครองปะการังเพื่อผลประโยชน์ยั่งยืน
 ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการคุ้มครองปะการัง
  4. แผนแม่บทการจัดการปะการังของประเทศ ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535 ประกอบด้วยนโยบายและมาตรการการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแนวปะการัง ดังนี้
 เขตการใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยว และนันทนาการfish8.gif (13633 bytes)
c_050 copy.jpg (16501 bytes)  นอกจากการดำเนินงานของรัฐภายใต้แผนแม่บทฯ ดังกล่าวแล้ว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2535 เห็นชอบด้วยกับแผนปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งแผนดังกล่าวได้กำหนดให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอนุรักษ์ปะการัง โดยการติดตั้งทุ่นผูกเรือ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนโดยทั่วไปรับทราบ และตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ปะการัง ดังนั้น ประชาชนในท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรควรรวมตัวกันเพื่อดูแลรักษาแนวปะการังของท้องถิ่นตนไว้ให้ใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป ซึ่งมีวิธีการต่างๆ คือ
c_049 copy.jpg (19778 bytes)  1. ผูกจอดเรือกับทุ่นผูกเรือ และไม่ทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง
  2. ทำเครื่องหมายแสดงแนวปะการัง เพื่อมิให้เรือเข้ามาในแนวนั้น
  3. กวดขัน สอดส่องมิให้มีการระเบิดปลาโดยเด็ดขาด
  4. ห้ามการประมงอวนลาก อวนรุน เข้ามาจับปลาบริเวณชายฝั่งที่มีแนวปะการัง
  5. ช่วยกันส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของการรักษาธรรมชาติของปะการัง เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น
  6. ในฐานะประชาชนในท้องถิ่นจะต้องไม่เก็บหาปะการังขึ้นมาขาย
  7. นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้องไม่ทิ้งขยะและเศษสิ่งของลงท้องทะเล


                                                                                                                               
fishswim1.gif (32952 bytes)octopus.gif (14697 bytes)